Montag, 5. Oktober 2020

๑๒๗. นักปราชญ์ท่านย่อมรู้ทันกัน


๑๒๗. นักปราชญ์ท่านย่อมรู้ทันกัน


วิทฺวา เอว วิชานาติ, วิทฺวชฺชนปริสฺสมํ;

หิ วญฺฌา วิชานาติ, คุรุํ ปสวเวทนํฯ


นักปราชญ์เท่านั้น ย่อมรู้ซึ้งถึงความ

เหนื่อยยากของชนผู้เป็นปราชญ์ด้วยกัน;

จริงอยู่ หญิงเป็นหมัน จะรู้ซึ้งถึงทุกข์เวทนา-

ในเวลาคลอดบุตร ที่แสนสาหัส หามิได้.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๒๗)


..


ศัพท์น่ารู้ :


วิทฺวา (นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) วิทฺว+สิ  ในอภิธาน. ฏีกา คาถา ๒๒๘ ว่า มาจาก วิท-ญาเณ ในว่ารู้ + ปัจจัย แปลง สิ วิภัตติเป็น อา. วิ. วิทติ ชานาตีติ วิทฺวา (ผู้รู้ ชื่อว่า วิทฺว, นักปราชญ์)

เอว (เท่านั้น, นั่นเทียว) เป็นนิบาต 

วิชานาติ (รู้แจ้ง, รู้ชัด) วิ+ญา+นา+ติ กิยาทิ. กัตตุ. แปลง ญา เป็น ชา ได้บ้าง ด้วยสูตว่า ญาสฺส ชา-ชํ-นา. (รู ๖๑๔)

วิทฺวชฺชนปริสฺสมํ (ความดิ้นรน-, ความเหน็ดเหนื่อยของชนผู้เป็นปราชญ์) วิทฺว+ชน+ปริสฺสม+อํ เป็นศัพท์สมาส (แยกคำให้พอเป็นแนวทางเท่านั้น)

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 

หิ (จริงอยู, เพราะ) เป็นนิบาต

วญฺฌา (หญิงหมัน) วญฺฌา+สิ 

คุรุํ (หนัก, กล้า, สาหัส) คุรุ+อํ

ปสวเวทนํ (เวทนาใกล้คลอด, -ในเวลาคลอดบุตร) ปสว+เวทน > ปสวเวทน+อํ หรือ เป็น ปสวเวนา+อํ ก็ได้.


..


 

Keine Kommentare: