Samstag, 17. Oktober 2020

๑๓๙. สถานที่ควรเว้น ๘ แห่ง


๑๓๙. สถานที่ควรเว้น แห่ง


วิสมํ สภยํ อติวาโต, ปฏิจฺฉนฺนํ เทวนิสฺสิตํ;

ปนฺโถ สงฺคาโม ติตฺถํ, อฏฺเฐเต ปริวชฺชิยาฯ


สถานที่ควรเว้น แห่งเหล่านี้ คือ

. ที่ไม่เสมอ . ที่มีภัย . ที่ลมแรง

. ที่ลึกลับ . ที่เทพสิงสถิต ทางเปลี่ยว

. ที่มีสงคราม และ . ที่ท่าริมฝั่ง.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๙)


..


ศัพท์น่ารู้ :


วิสมํ (ที่ไม่เสมอ, ขรุขระ) วิสม+สิ

สภยํ (ที่เป็นไปกับด้วยภัย, ที่มีภัย, มีอันตราย) สภย+สิ

อติวาโต (ที่ต้านลม,​ ที่ลมแรง, พายุ) อติวาต+สิ

ปฏิจฺฉนฺนํ (ที่ปกปิด, ซ่อนเร้น, กำบัง) ปฏิจฺฉนฺน+สิ

เทวนิสฺสิตํ (ที่เทพอาศัย, ที่อยู่ของเทวดา) เทว+นิสฺสิต > เทวนิสฺสิต+อํ

ปนฺโถ (ทาง, ถนน) ปนฺถ+สิ

(ด้วย,​ และ) นิบาต

สงฺคาโม (สงคราม, สนามรบ, ที่สู้รบกัน) สงฺคาม+สิ

ติตฺถํ (ฝั่ง, ท่าน้ำ, ท่าเรือ, ท่าลง) ติตฺถ+สิ,  ติตฺถ ศัพท์ยังแปลว่า ผู้สอน, ครู, การเกิดขึ้น,​ น้ำใจ, ทิฐิ, ลัทธิ, ความเชื่อถือ ก็ได้

อฏฺเฐเต ตัดบทเป็น อฏฺฐ+เอเต (แปด+เหล่านี้) อฏฺฐ+โย = อฏฺฐ, เอต+โย = เอเต.

ปริวชฺชิยา (ควรเว้น, ควรหลีกเว้น) ปริ+วชฺช+อิ+ณฺย > ปริวชฺชิย+โย, วิ. ปริวชฺชิตพฺพาติ ปริวชฺชิยา, เทสา. (ที่ควรเว้นรอบ ชื่อว่า ปริวชฺชิยา) ลง ณฺย ปัจจัย ด้วยสูตรว่า ณฺโย . (รู ๕๕๒) ลบ อนุพันธ์ ด้วยสูตรว่า การิตํ วิย ณานุพนฺโธ. (รู ๕๕๒) ลง อิ อาคม ด้วยสูตรว่า ยถาคมิกาโร. (รู ๕๔๗).


..


 

Keine Kommentare: