Freitag, 30. Oktober 2020

๑๕๓. ผู้ฉลาดควรบูชาผู้มีปัญญา


๑๕๓. ผู้ฉลาดควรบูชาผู้มีปัญญา


ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส, สมฺปสฺสํ หิตมตฺตโน;

ปญฺญวนฺตํภิปูเชยฺย, เจติยํ วิย สาทโรฯ


เพราะฉะนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต

เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน

พึงบูชายิ่งซึ่งผู้มีปัญญาโดยเคารพ

ดุจว่ากำลังบูชาอยู่ซึ่งพระเจดีย์เถิด..“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๓)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ตสฺมา (เพราะฉะนั้น) +สฺมา สัพพนาม หรือ นิบาตบท

หิ (จริงอยู่, แล) นิบาตบท, อนึ่ง ตสฺมา หิ จัดเป็นสมูหนิบาต แปลรวมกันว่า เพราะฉนั้นแล.

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ

โปโส (บุรุษ) โปส+สิ

สมฺปสฺสํ (เห็นอยู่) สมฺปสฺสนฺต+สิ แปลง นฺต เป็น อํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สิมฺหิ คจฺฉนฺตาทีนํ นฺตสทฺโท อํ. (รู ๑๐๗) = สมฺปสฺส อํ+สิ, แยก ลบ รวม = สมฺปสฺสํ+สิ, ลบ สิ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔) 

อตฺถมตฺตโน = อตฺถํ+อตฺตโน, อตฺถํ (ประโยชน์, เนื้อความ, อรรถ) อตฺถ+อํ, อตฺตโน (ของตน) อตฺต+ แปลง เป็น โน ด้วยสูตรว่า สสฺส โน. (๑๒๗)

ปญฺญวนฺตํภิปูเชยฺย ตัดบทเป็น ปญฺญวนฺตํ (ซึ่งผู้มีปัญญา) + อภิปูเชยฺย (พึงบูชาโดยยิ่ง, -อย่างดี, -พิเศษ) อภิ+√ปูช+เณ+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ. 

เจติยํ (ซึ่งเจดีย์) เจติย+อํ

วิย (ราวกะ, เพียงดัง, ดุจ,​ เหมือน) นิบาตบอกอุปมา

สาทโร (ผู้มีความเอื้อเฟื้อ, ผู้มีความอาทร) สาทร+สิ


..


 

Keine Kommentare: