Samstag, 31. Oktober 2020

๑๕๔. พรที่ควรขอ


๑๕๔. พรที่ควรขอ


ธีรํ ปสฺเส สุเณ ธีรํ, ธีเรน สห สํวเส;

ธีเรนลฺลาปสลฺลาปํ, ตํ กเร ตญฺจ โรจเยฯ


(อกิตติดาบสทูลขอพรกะพระอินทร์ว่า)

อาตมภาพพึงขอเห็น ขอฟังนักปราชญ์ 

ขออยู่ร่วมกันกับนักปราชญ์ ขอกระทำ 

และขอชอบใจการเจรจาปราศรัยกับนักปราชญ์.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๔ ขุ. ชา. ๒๗/๑๘๑๗ อกิตติชาดก)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ธีรํ (ปราชญ์, คนมีปัญญา) ธีร+อํ

ปสฺเส (พึงเห็น, พึงเจอ)  ทิส++เอยฺยํ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

สุเณ (พึงได้ยิน, ควรฟัง) สุ+ณา+เอยฺยํ สฺวาทิ. กัตตุ.

ธีเรน (กับปราชญ์) ธีร+นา

สห (กับ, พร้อมกัน) นิบาตบท

สํวเส (ส้องเสพ, คบค้า) สํ+√วส++เอยฺยํ ภูวาทิ. กัตตุ.

พาเลนาลาปสลฺลาปํ ตัดบทเป็น พาเลน (ด้วยคนพาล) +อาลาปสลฺลาปํ (การพูดคุย, สนทนาปราศัย) แยกเป็น อาลาป (อลฺลาป) + สลฺลาป > อาลาปสลฺลาป+อํ, หรือ อลฺลาปสลฺลาป ก็มี.

กเร (พึงทำ) √กร+โอ+เอยฺยํ ตนาทิ. กัตตุ.

ตญฺจ ดัดบทเป็น ตํ+ (..นั้นด้วย, และ..นั้น) +อํ = ตํ เป็นสัพพนาม

โรจเย (พึงชอบใจ) √รุจ+ณย+เอยฺยํ จุราทิ. กัตตุ.


ในปทรูปสิทธิ  สูตรที่ ๔๕๔ ท่านแสดงไว้ว่าให้แปลง เอยฺย, เอยฺยาสิ, เอยฺยามิ และ เอยฺยํ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘)  ดังข้อความที่ว่ากฺวจิ ธาตุ วิภตฺตีติอาทินา เอยฺย เอยฺยาสิ เอยฺยามิ เอยฺยํอิจฺเจเตสํ วิกปฺเปน เอการาเทโส. (รู ๔๕๔)


เพราะฉะนั้น กิริยาว่า ปสฺเส, สุเณ, สํวเส, กเร และ โรจเย สามารถโยคบุรุษที่ คือ นามโยคะ, บุรุษที่ คือ ตุมฺหโยค และบุรุษที่   คือ อมฺหโยค มาเป็นประธานก็ได้ ส่วนคำแปลด้านบนนั้น ยกมาจากมาจากพระไตรปิฏกแปล อกิตติชาดก เป็นถ้อยคำที่พระโพธิสัตว์สนทนากับท้าวสักกะ จึงใช้เป็นบุรุษที่ คือ อหํ เป็นประธาน และในอรรถกถา ท่านขยายเป็น สุเณยฺยํ จึงแยกศัพท์เป็น ทิส++เอยฺยํ เป็นต้น. 


..


 

Keine Kommentare: