๑๒๙. คนพูดคู่คนฟัง
กึ กริสฺสนฺติ วตฺตาโร, โสตํ ยตฺถ น วิชฺชเต;
นคฺคกปณเก เทเส, รชโก กึ กริสฺสติฯ
“ในที่ใดไม่มีการตั้งใจฟัง;
ผู้กล่าวสอนจะทำอะไรให้ได้,
ดุจในที่มีพื้นที่ว่างและจำกัด,
ช่างย้อมจะทำอะไรให้ได้เล่า!“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๒๙ จาณักยนีติ ๑๑๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
กึ (อะไร, หรือ) กึ+สิ สัพพนาม
กริสฺสนฺติ (จักทำ) √กร+โอ+อิ+สฺสนฺติ ตนาทิ. กัตตุ.
วตฺตาโร (ผู้กล่าว, ผู้สอน ท.) วตฺตุ+โย แปลงที่สุด วตฺตุ เป็น อาร ด้วยสูตรว่า อญฺเญสฺวรตฺตํ. (รู ๑๕๙) = วตฺตฺ อาร+โย, แปลง โย เป็น โอ ด้วยสูตรว่า ตโต โยนโม ตุ. (รู ๑๖๐) = วตฺตฺ อาร+โอ แยก-ลบ-รวม สำเร็จรูปเป็น วตฺตาโร (ผู้กล่าว ท. ครู, อาจารย์, ผู้สอน)
โสตํ (หู, กระแส, การฟัง, นักศึกษา) โสต+สิ
ยตฺถ (ใน..ใด) ย+ถ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
วิชฺชเต (มีอยู่) √วิท+ย+เต ทิวาทิ. กัตตุ.
นคฺคกปณเก (เปล่าเปลือยและจำกัด) นคฺค (เปลือย, เปล่า, โล่ง, เตียน)+กปณก (อยากจน, กำพร้า, เข็ญใจ, จน, ทุกข์, ลำบาก, มีค่าน้อย) > นคฺคกปณก+สฺมึ
เทเส (ประเทศ, พื้นที่, ภาค, ส่วน) เทส+สฺมึ
รชโก (ผู้ล้าง, ผู้ซัก, ช่างย้อม) รชก+สิ
กริสฺสติ (จักทำ) √กร+โอ+อิก+สฺสติ ตนาทิ. กัตตุ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen