๑๔๙. องค์แห่งการประพันธ์
สาภาวิกี จ ปฏิภา, สุตญฺจ พหุนิมฺมลํ;
อมนฺโท จาภิโยโคยํ, เหตุ โหติห พนฺธเนฯ
„ปฏิภาณที่ปรากฏโดยปกติ
การสดับที่ไร้มลทินเป็นอันมาก
และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งสามอย่างนี้เป็นเหตุในบทประพันธ์.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๕, สุโพธาลังการมัญชรี หน้า ๓๓๘)
…
ศัพท์น่ารู้ :
สาภาวิกี (ที่ปรากฏโดยปกติ) สาภาวิกี+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต
ปฏิภา (ปฏิภาณ, ไหวพริบ, เฉียบแหลม, ความแจ่มแจ้ง) ปฏิภา+สิ
สุตญฺจ ตัดบทเป็น สุตํ+จ (การสดับ, การศึกษา+ด้วย)
พหุนิมฺมลํ (ที่ไร้มลทินเป็นอันมาก) พหุ+นิมฺมล > พหุนิมฺมล+สิ
อมนฺโท (ไม่น้อย, ไม่ย่อหย่อน, สม่ำเสมอ) น+มนฺท > อมนฺท+สิ
จาภิโยโคยํ ตัดบทเป็น จ+อภิโยโค+อยํ (ด้วย+การประกอบ, การฝึกฝน+นี้)
เหตุ (เหตุ, เค้ามูล) เหตุ+สิ
โหติห ตัดบทเป็น โหติ+อิห (ย่อมเป็น+ใน..นี้)
พนฺธเน (ในการประพันธ์, การแต่งหนังสือ) พนฺธน+สฺมุ
…
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen