๑๓๐. เหตุที่ทำให้บัณฑิตตกต่ำ
มูฬฺหสิสฺสาปเทเสน, กุนารีภรเณน จ;
ขลสตฺตูหิ สํโยคา, ปณฺฑิโตปฺยาวสีทติฯ
“ถึงเป็นบัณฑิตก็ย่อมตกต่ำได้ ด้วยเหล่านี้คือ,
เพราะเชื่อคำแนะนำของศิษย์โง่เขลา ๑;
เพราะเลี้ยงดูหญิงไม่ดีนารีชั่ว ๑,
และเพราะคบหากับศัตรูผู้ต่ำทราม ๑.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๐ โลกนีติ ๑๒๘, มหารหนีติ ๑๑๙, ธัมมนีติ ๑๒๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
มูฬฺหิสฺสาปเทเสน (เพราะคำแนะนำของศิษย์หลง, -โง่เขลา, -เบาปัญญา, -บ้าบอ) ,มูฬฺห+สิสฺส+อปเทส > มูฬฺหสิธสฺสาปเทส+นา, แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตรว่า อโต เนน. (รู ๗๙) ศัพท์นี้ที่ถูกต้องควรเป็น มูฬฺหสิสฺโสปเทเสน เหมือนในโลกนีติ, มหารหนีติ และธัมมนีติ, มูฬฺหสิสฺโสปเทส เป็นสมาส มาจาก มูฬฺห+สิสฺส+อุปเทส, (หมายเหตุ: ในกวิทัปปณนีติ ศัพท์นี้ เดิมเป็น มูฬฺหิธสฺสาปเทเสน ได้แก้ใหม่เป็น มูฬฺหสิสฺสาปเทเสน)
กุนารีภรเณน (เพราะเลี้ยงดูหญิงไม่ดี, -นารีชั่ว, -หญิงใจร้าย) กุนารีภรณ+นา
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาต
ขลสตฺตูหิ (ด้วยศัตรูชั่ว, -ลามก, -หยาบ) ขลสตฺตุ+หิ
สํโยคา (เพราะประกอบ, คบหา, สมคบ, สมาคม) สํโยค+สฺมา
ปณฺฑิโตปฺยาวสีทติ ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+อปิ+อวสีทติ
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
อวสีทติ (จมลง, ดิ่งลง, ตกต่ำ, เสียชื่อเสียง) อว+√สท+อ+ติ แปลง สท เป็น สีท ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สทสฺส สีทตฺตํ. (รู ๔๘๔) มาจากธาตุเดียวกันกับกริยาศัพท์ว่า นิสีทติ ที่แปลว่า ย่อมนั่ง
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen