Freitag, 16. Oktober 2020

๑๓๘. ปราชญ์ติเตียนคนดีแต่พูดแต่ไม่ทำ


๑๓๘. ปราชญ์ติเตียนคนดีแต่พูดแต่ไม่ทำ


ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท, ยํ กยิรา ตํ วเท;

อกโรนฺตํ ภาสมานํ, ปริชานนฺติ ปณฺฑิตาฯ


จริงอยู่ บุคคลพึงพูดสิ่งที่ตนทำ

และไม่ควรพูดสิ่งที่ตนไม่ได้ทำ

นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมตำหนิ

คนดีแต่พูดแต่ไม่เคยลงมือทำ.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๘  นรทักขทีปนี ๑๓๕ จาริตตนิทเทส)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ยญฺหิ ตัดบทเป็น ยํ+หิ

กยิรา (พึงกระทำ) √กร+ยิรา+เอยฺย ตนาทิ. กัตตุ. ลง ยิร ปัจจัยด้วยสูตรว่า ตนาทิโต โอยิรา. (รู ๕๒๐) ในเพราะ ยิร ปัจจัยให้ลบ อักษรที่สุดธาตุ และ แปลง เอยฺย เป็น อา ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘)

ตญฺหิ  ตัดบทเป็น ตํ+หิ

วเท (พึงกล่าว, พูด, แถลง) วท++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

ยํ (ใด) +อํ สัพพนาม

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

กยิรา 

ตํ วเท (ไม่พึงกล่าวถึงสิ่งนั้น)

อกโรนฺตํ (ผู้ไม่กระทำอยู่) √กร+โอ+อนฺต > กโรนฺต, +กโรนฺต > อกโรนฺต+อํ

ภาสมานํ (ผู้พูดอยู่, กล่าวอยู่) √ภาส++มาน > ภาสมาน+อํ

ปริชานนฺติ (ตำหนิ, ติเตียน) ปริ+√ญา+นา+อนฺติ กิยาทิ. กัตตุ. แปลง ญา ธาตุเป็น นา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชา-ชํ-นา. (รู ๕๑๔)

ปณฺฑิตา (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, ปราชญ์ .) ปณฺฑิต+โย


..


 

Keine Kommentare: