Sonntag, 1. November 2020

๑๕๕. อานิสงส์การคบนักปราชญ์

๑๕๕. อานิสงส์การคบนักปราชญ์


นยํ นยติ เมธาวี, อธุรายํ ยุญฺชติ;

สุนโย เสยฺยโส โหติ, สมฺมา วุตฺโต กุปฺปติ;

วินยํ โส ปชานาติ, สาธุ เตน สมาคโมฯ


นักปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ 

ย่อมไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ

การแนะนำดีเป็นความดีของนักปราชญ์นั้น 

นักปราชญ์นั้น ผู้อื่นกล่าวชอบก็ไม่โกรธ ย่อมรู้จักวินัย 

การสมาคมกับนักปราชญ์นั้น เป็นความดี.


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๕ ธัมมนีติ ๑๔๙๙, นรทักขทีปนี ๒๖๒, ขุ. ชา. ๒๗/๑๘๑๙ อกิตติชาดก)


..


ศัพท์น่ารู้ :


นยํ (ข้อควรแนะนำ, กฏระเบียบ, ประเพณี) นย+อํ

เนติ (นำไป, แนะนำ) √นี++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

เมธาวี (คนมีปัญญา) เมธา+วี ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > เมธาวี+สิ วิ. เมธา อสฺส (ยสฺส) อตฺถีติ เมธาวี. หรือ วิ. เมธา ตสฺมึ วิชฺชตีติ เมธาวี ก็ได้.

อธุรายํ (ในสิ่งไม่ใช่ธุระ, ในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ) +ธุรา > อธุรา+สฺมึ (? ปกติแล้ว ธุร เป็น . นป.)

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

ยุญฺชติ (ประกอบ, ชักชวน, ชักจูง) √ยุช++ติ รุธาทิ. กัตตุ. +นิคคหิตอาคม. 

สุนโย (การแนะนดี, แนะนำในสิ่งดี) สุ+นย > สุนย+สิ

เสยฺยโส (เป็นความดี) เสยฺยส+สิ

โหติ (เป็น, คือ) √หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

สมฺมา (โดยชอบ) นิบาต

วุตฺโต  (ถูกกล่าว, ถูกตักเตือน) √วจ+ > วุตฺต+สิ

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

กุปฺปติ (โกรธ, เคือง) +√กุป++ติ ทิวาทิ. กัตตุ.

วินยํ  (วินัย, มารยาท) วินย+อํ

โส (..นั้น,​ เขา) +สิ สัพพนาม

ปชานาติ (ทราบชัด,​ รู้ทั่ว) +√ญา+นา+ติ กิยาทิ. กัตตุ.

สาธุ (เป็นความดี, เป็นประโยชน์) สาธุ+สิ 

เตน (ด้วย..นั้น) +นา สัพพนาม

สมาคโม (การสมาคม, การคบหากัน) สํ+อา+√คุม+ > สํมาคโม+สิ  นามกิตก์




ก่อนที่อกิตติดาบสผู้โพธิสัตว์จะกล่าวคาถาด้านบนนั้น พระอินทร์ได้ถามท่านว่า ..


กึ นุ เต อกรํ ธีโร, วท กสฺสป การณํ;

เกน กสฺสป ธีรสฺส, ทสฺสนํ อภิกงฺขสิ


ข้าแต่ท่านกัสสปะ นักปราชญ์ได้กระทำอะไร

ให้แก่ท่านหรือ? ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม 

เพราะเหตุไร ท่านจึงปรารถนาเห็นนักปราชญ์.“


..


 

Keine Kommentare: