๑๖๓.๒ กินอย่างไรให้อยู่สบาย
จตฺตาโร ปญฺจ อาโลเป, อาภุตฺวา อุทกํ ปิเว;
อลํ ผาสุวิหาราย, ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโนฯ
„การบริโภคอาหารยังอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม
ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำ
เป็นการสมควรเพื่ออยู่สบาย
ของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๖๓.๒ นรทักขทีปนี ๒๔๓ ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๖ สารีปุตตเถร)
..
ศัพท์น่ารู้ :
จตฺตาโร (สี่, ๔) จตุ+โย ป.
ปญฺจ (ห้า, ๕) ปญฺจ+โย
อาโลเป (คำข้าว ท.) อาโลป+โย
อาภุตฺวา (หด, คู้, ค้างไว้, ขยักไว้, นั่งคู่บัลลังก์, ทำไว้ในใจ) อา+ภุช+อ+ตฺวา, แต่ในพระบาฬีเป็น อภุตฺวา (ไม่ฉันแล้ว) น+ภุตฺวา > อภุตฺวา ท่านแก้ไว้ในอรรถกถาว่า ตตฺถ อภุตฺวาติ จตฺตาโร วา ปญฺจ วา อาโลเป กพเฬ อภุญฺชิตฺวา ตตฺตกสฺส อาหารสฺส โอกาสํ ฐเปตฺวา ปานียํ ปิเวยฺยฯ แปลว่า: บทว่า อภุตฺวา ความว่า พึงเว้นโอกาสแห่งอาหารที่จะอิ่ม ไม่บริโภคเหลือไว้สัก ๔-๕ คำ แล้วดื่มน้ำเสีย.
อุทกํ (น้ำ) อุทก+อํ
ปิเว (ดื่ม) ปา+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ปา เป็น ปิพ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ปา ปิโพ. (รู ๔๙๔) แปลง พ เป็น ว ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)
อลํ (อย่าเลย, พอละ, สมควร) เป็นนิบาต
ผาสุวิหาราย (เพื่อการอยู่สบาย) ผาสุ+วิหาร > ผาสุวิหาร+ส แปลง ส เป็น อาย ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อาย จตุตฺเถกวจนสฺส ตุ. (รู ๓๐๔)
ปหิตตฺตสฺส (ผู้มีตนอันส่งไปแล้ว, ผู้มีจิตส่งไปแล้วสู่นิพพาน, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว) ปหิต+อตฺต > ปหิตตฺต+ส ในอรรถว่า แก้ไว้ว่า นิพฺพานญฺหิ เปสิตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน ..
ภิกฺขุโน (แก่ภิกษุ) ภิกฺขุ+ส แปลง ส เป็น โน ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฌลโต สสฺส โน วา. (รู ๑๒๔)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen