๑๖๔. คนมีคุณความดีย่อมได้รับการบูชา
ยสฺส เอโส ปสุโตปิ, คุณวา ปุชฺชเต นโร;
ธนุวํสวิสุทฺโธปิ, นิคฺคุโณ กึ กริสฺสติฯ
„นรชนผู้มีคุณความดีที่ได้ทำไว้แล้ว
ย่อมได้รับการบูชาจากชนทั้งปวง,
ส่วนคนที่ปราศจากความดี แม้มีวงศ์
หมดจดดุจคันธนู จักกระทำอะไรได้?“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๖๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ยสฺส (..ใด) ย+ส สัพพนาม
เอโส (..นั่น) เอต+สิ สัพพนาม
ปสุโตปิ (แม้ขวนขวายแล้ว, -ประกอบแล้ว, -กระทำแล้ว) ปสุโต+อปิ
คุณวา (ผู้มีคุณ, คนมีความดี) คุณวนฺตุ+สิ, คุณ+วนฺตุ ปัจจัยในอัสสัตถิตัทธิต วิ. คุโณ อสฺส อตฺถีติ คุณวา. (คนมีคุณ ชื่อว่า คุณวา)
ปุชฺชเต (ย่อมถูกบูชา, ได้รับการบูชา) √ปูช+ย+เต จุราทิ. กัมม.
นโร (ชน, คน) นร+สิ
ธนุวํสวิสุทฺโธปิ (แม้หมดจดดุจวงศ์แห่งธนู, ถึงหมดจดดุจคันธนู) ธนุ (ธนู, ลูกศร) +วํส (วงศ์, ไม้ไฝ่, ขลุ่ย) +วิสุทฺธ (สะอาดยิ่ง, หมดจด, วิสุทธิ์) > ธนุวํสวิสุทฺธ+สิ > ธนุวํสวิสุทฺโธ+อปิ
นิคฺคุโณ (ผู้ปราศจากความดี, คนไร้ความดี, คนไม่มีคุณ) นิคฺคุณ+สิ
กึ (อะไร, หรือ) นิบาตบอกคำถาม
กริสฺสติ (จักกระทำ) กร+โอ+อิ+สฺสติ ตนาทิ. กัตตุ.
หมายเหตุ : คาถานี้ ยากตรงบาทคาถาแรกครับ ไม่ทราบว่าจะสัมพันธ์อย่างไร? ฉะนั้น จึงขอแปลเอาความล้วน ๆ พอได้ใจความไปก่อน ผิดถูกประการใด ต้องขออภัยผู้รู้ไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen