๑๖๖. นักปราชญ์ก็เศร้าหมองได้
สุมหนฺตานิ สุตฺตานิ, ธารยนฺตา พหุสฺสุตา;
เฉตฺตาโร สํสยานญฺจ, กลึ ยนฺติ โลภโมหิตาฯ
„ผู้คงแก่เรียน ทรงจำตำราได้มากมาย,
และยังตัดความสงสัยได้เยอะแยะ
เมื่อยังถูกโลภะและโมหะครอบแล้ว,
ก็ย่อมถึงความระทมทุกข์ได้เช่นกัน.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๖๖ มหารหนีติ ๓๘ ธัมมนีติ ๔๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สุมหนฺตานิ (มากมาย, เยอะแยะ) สุมหนฺต+โย
สุตฺตานิ (สตฺถานิ) : (สูตร, ตำรา, ความรู้ ท.) สุตฺต+โย, เดิมเป็น สตฺตานี ได้แก้เป็น สุตฺตานิ เพื่อความเหมาะสมตามคัมภีร์นีติอื่น.
ธารยนฺตา (ทรงอยู่, ทรงจำได้) √ธร+ณย+อนฺต > ธารยนฺต+โย
พหุสฺสุตา (ผู้มีการสดับมาก, พหูสูตร, ผู้คงแก่เรียน) พหุ+สุต > พหุสฺสุต+โย
เฉตฺตาโร (ผู้ตัด, ผู้เฉือน, บั่นทอน) เฉตฺตุ+โย
สํสยานนฺตุ: ตัดบทเป็น สํสยานํ+ตุ (ความสงสัย+ส่วน, ก็, แต่) สํสย+นํ, ตุ เป็นนิบาตบท
กลึ (บาป, โทษ, เคราะห์ร้าย, ความระทมทุกข์) กลิ+อํ
ยนฺติ (ไป, ถึง, ลุ, ประสบ) ยา+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
โลภโมหิตา: (ผู้มีจิตหลงเพราะความโลภ, ผู้ถูกความโลภครอบงำจิต) โลภ+โมหิต > โลภโมหิต+โย
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen