๑๖๗. อย่าพูดเล่น อาจเป็นจริง
นทีตีเร ขเต กูเป, อรณีตาลวณฺฏเก;
น วเท ทกาที นตฺถีติ, มุเข จ วจนํ ตถาฯ
„เมื่อมีบ่อที่เขาขุดไว้ใกล้ฝั่งน้ำ
เมื่อมีไม้สีไฟและก้านตาลแห้ง มีอยู่
ไม่ควรพูดทักว่า „ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ“
คำพูดในปาก อาจจะเป็นอย่างนั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๖๗ มหารหนีติ ๕๑ ธัมมนีติ ๔๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นทีตีเร (ที่ใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำ) นที (แม่น้ำ)+ตีร (ฝั่ง, ตลิ่ง) > นทีตีร+สฺมึ
ขเต (ขุดไว้แล้ว) √ขน+ต > ขต+สฺมึ
กูเป (หลุม, บ่อ, โพรง) กูป+สฺมึ บาทคาถาแรกนี้ ในธัมมนีติ เป็น นทีตีเรฏฺฐิเต กูเป.
อรณีตาลวณฺฑเก (ไม้สีไฟและก้านตาล, ก้านตาลใช้สีไฟ, ขั้วตาลทำเป็นไม้สีไฟ) อรณี (ไม้สีไฟ)+ตาล (ไม้ตาล) +วณฺฏก (ก้าน, ขั้ว) > อรณีตาลวณฺฑก+สฺมึ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
วเท (พึงกล่าว) √วท+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
ทกาที (น้ำเป็นต้น, น้ำและไฟเป็นต้น) ทก (น้ำ) +อาทิ (เป็นต้น) > อาปาทิ+โย, อาทิ ศัพท์ในที่นี้ หมายเอา ไฟ (อคฺคิ) ด้วย
นตฺถีติ: ตัดบทเป็น นตฺถิ+อิติ (ว่าไม่มี, ว่า..ไม่มี ดังนี้) น+อตฺถิ สนธิเป็น นตฺถิ แปลว่า ไม่มี, ศัพท์ว่า อตฺถิ เป็นกิริยาอาขายาต ก็ได้ เป็น นิบาตบท ก็ได้
มุเข (ปาก) มุข+สฺมี, นป.
วจนํ (คำ, กล่าว, พจน์) วจน+สิ
ตถา (อย่างนั้น, เช่นนั้น) นิบาต
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen