Sonntag, 15. November 2020

๑๖๘. ตาดูหูฟังได้แต่อย่าติดใจ

๑๖๘. ตาดูหูฟังได้แต่อย่าติดใจ


สพฺพํ สุณาติ โสเตน, สพฺพํ ปสฺสติ จกฺขุนา;

ทิฏฺฐํ สุตํ ธีโร, สพฺพํ อุจฺจิตุมรหติฯ


ผู้มีปัญญาย่อมฟังทุกเรื่องด้วยหู

ย่อมดูทุกอย่างด้วยตา

แต่ไม่สมควระแสวงหาทุกอย่าง

ที่ได้เห็นและที่ได้ฟังแล้ว.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๖๘ มหารหนีติ ๖๐ ธัมมนีติ ๔๙)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สพฺพํ (ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น) สพฺพ+อํ สัพพนาม

สุณาติ (ฟัง, สดับ) √สุ+ณา+ติ สฺวาทิ. กัตตุ.

โสเตน (ด้วยหู, โสต) โสต+นา

ปสฺสติ (ดู, เห็น) √ทิส++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง § ทิสสฺส ปสฺส-ทิสฺส-ทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)

จกฺขุนา (ด้วยตา, จักษุ) จกฺขุ+นา

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 

(ด้วย, และ) นิบาตบอกรวมบท-ปทสมุจจยะ 

ทิฎฺฐํ (สิ่งที่เห็น, รูป) ทิฏฺฐ+อํ 

สุตํ (สิ่งที่ฟัง, เสียง) สุต+อํ 

ธีโร (ธีรชน, นักปราชญ์, คนมีปัญญา) ธีร+สิ

สพฺพํ (ทั้งปวง, ทั้งหมด) สพฺพ+อํ

อุจฺจิตุมรหติ (ย่อมสมควรเพื่อเลือกเอา) ตัดบทเป็น อุจฺจิตุํ+อรหติ, อุ+√จิ+ตุํ = อุจฺจิตุํ (เพื่อเลือก, -คัดเลือก, -แสวงหา). ในธัมมนีติบาทคาถานี้ เป็น สพฺพิจฺฉิตุมรหติ: ตัดบทเป็น สพฺพํ+ อิจฺฉิตุํ+อรหติ (ควรเพื่ออันปรารถนาซึ่งสิ่งทั้งปวง) อิจฺฉตุํ (เพื่ออันปรารถนา, เพื่ออันต้องการ) √อิสุ+อิ+ตุํ  แปลงที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง § อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (๔๗๖); อรหติ (สมควร) √อรห++ติ  ภูวาทิ. กัตตุ.


..


 

Keine Kommentare: