๑๗๐. ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส, สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺตโน;
โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ, เอวํ ตตฺถ วิสุชฺฌติฯ
„เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด
เมื่อเห็นประโยชน์ของตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้
ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๗๐ สํ. ส. ๑๕/๑๔๗ เชตวนสูตร, ๑๕/๒๗๕ อนาถปิณฑิกสูตร)
…
ศัพท์น่ารู้ :
ตสฺมา (เพราะฉะนั้น) ต+สฺมา สัพพนาม หรือ นิบาตบท
หิ (จริงอยู่, แล) นิบาตบท, อนึ่ง ตสฺมา หิ จัดเป็นสมูหนิบาต แปลรวมกันว่า เพราะฉนั้นแล.
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
โปโส (บุรุษ) โปส+สิ
สมฺปสฺสํ (เห็นอยู่) สมฺปสฺสนฺต+สิ แปลง นฺต เป็น อํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สิมฺหิ คจฺฉนฺตาทีนํ นฺตสทฺโท อํ. (รู ๑๐๗) = สมฺปสฺส อํ+สิ, แยก ลบ รวม = สมฺปสฺสํ+สิ, ลบ สิ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔)
อตฺถมตฺตโน ตัดบทเป็น อตฺถํ+อตฺตโน, อตฺถํ (ประโยชน์, เนื้อความ, อรรถ) อตฺถ+อํ,
อตฺตโน (ของตน) อตฺต+ส แปลง ส เป็น โน ด้วยสูตรว่า สสฺส โน. (๑๒๗)
โยนิโส
วิจิเน = วิจิเนยฺย (ค้นคว้า, สะสม, ตรวจสอบ, เลือกเฟ้น) วิ+จิ+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ.
ธมฺมํ (ธรรม, หลักธรรม) ธมฺม+อํ
เอวํ (อย่างนี้) นิบาต
ตตฺถ (ใน..เหล่นั้น, ในธรรมเหล่านั้น) ต+ถ ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ
วิสุชฺฌติ (หมดจด, บริสุทธิ์) วิ+สุธ+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.
ข้อความบางตอนจากพระสูตร
ในเชตวนสูตรที่ ๘, (เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕)
เทวดากราบทูลว่า :
ก็พระเชตวันมหาวิหารนี้นั้น อันหมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณอยู่
อาศัยแล้ว อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาประทับอยู่แล้ว
เป็นแหล่งที่เกิดปีติของข้าพระองค์ การงาน ๑ วิชา ๑
ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอย่างสูง ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์
ด้วยคุณธรรม ๕ นี้ หาบริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่ ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ คนผู้ฉลาด เมื่อเห็นประโยชน์ของตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายอันแยบคาย เพราะเมื่อเลือก
เฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น ฯ
พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น (เป็นผู้ประเสริฐ) ด้วยปัญญา
ศีล และความสงบ ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้นก็มี
ท่านพระสารีบุตรนั้นเป็นเยี่ยม ฯ
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen