Mittwoch, 18. November 2020

๑๗๑. ลูกที่ไร้ประโยชน์

๑๗๑. ลูกที่ไร้ประโยชน์


กึ เตน ชาตุชาเตน, มาตุโยพฺพนฺนหารินา;

อาโรหติ โย สก-วํสอคฺเค ธโช ยถาฯ


ประโยชน์อะไรด้วยบุตรที่เกิดมา

ผู้มีปกติบั่นทอนความสุขของมารดา,

ผู้ที่ไม่รู้จักเติบโตสักที

ผู้เป็นดุจธงไม่เคยขึ้นสู่ยอดเสา.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๗๑)


..


ศัพท์น่ารู้ :


กึ (หรือ, อะไร, ประโยชน์อะไร) สัพพนาม หรือ นิบาต ก็ได้

เตน (..นั้น) +นา สัพพนาม

ชาตุชาเตน (เกิดแล้วอย่างแน่นอน) ชาตุ (แท้, แน่แท้, แน่นอน) + ชาต (เกิดแล้ว, อุบัติขึ้นแล้ว) > ชาตุชาต+นา 

มาตุโยพฺพนฺนหารินา (ผู้มีปกตินำความหนุ่มของแม่ไป, พรากความหนุ่มของแม่ ?) มาตุ+โยพฺพนฺน+หารี > มาตุโยพฺพนหารี+นา,  ศัพท์ว่า โยพฺพนฺน ที่ถูกควรเป็น โยพฺพน เพราะในปทรูปสิทธิ มีวิเคราะห์ว่า ยุวสฺส ภาโว โยพฺพนํ (ความเป็นหนุ่ม ชื่อว่า โยพฺพน) และยังมีศัพท์ว่า โยพฺพญฺญํ อีกด้วย วิ. โยพฺพนสฺส ภาโว โยพฺพญฺญํ (ความเป็นแห่งความเป็นคนหนุ่ม ชื่อว่า โยพพัญญะ)

อาโรหติ (ขึ้น,​ งอกขึ้น, เติบโตขึ้น) อา+√รุห++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

(ไม่,​ หามิได้) นิบาตบอปฏิเสธ

โย (…ใด) +สิ สัพพนาม

สก-วํสอคฺเค (ที่ปลายแห่งวงศ์ของตน ?) สก (ของตน) + วํส (วงศ์, ไม้ไผ่, ขลุ่ย) + อคฺค (ยอด, ปลาย, เลิศ) > สกวํสอคฺค+สฺมึ

ธโช (ธง, ลักษณะ, เครื่องหมาย) ธช+สิ

ยถา (โดยประการใด, ฉันใด,​ เหมือน,​ ตาม) นิบาต


 

Keine Kommentare: