Montag, 2. November 2020

๑๕๖. สหายผู้ควรเที่ยวไปด้วยกัน

๑๕๖. สหายผู้ควรเที่ยวไปด้วยกัน


สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ,

สทฺธึ จรํ สาธุวิหาริ ธีรํ;

อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ,

จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมาฯ


ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน 

ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็น

นักปราชญ์ไซร้, บุคคลนั้นพึงครอบงำอันตรายทั้งปวง 

มีใจชื่นชม มีสติพึงเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๖ ขุ. . ๒๕/๒๓ นาควรรค ขุ. สุ. ๒๕/๒๙๖ ขัคควิสาณสูตรขุ. ชา. ๒๗/๑๒๒๓ โกสัมพิยชาดก)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สเจ (ถ้าว่า, หากว่า, ผิว่า) เป็นนิบาต

ลเภถ (พึงได้) √ลภ++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

นิปกํ (ผู้มีปัญญารักษาตน) นิปก+อํ

สหายํ (สหาย, เพื่อน, มิตร) สหาย+อํ

สทฺธึ (กับ, พร้อมกัน) นิบาต

จรํ (ผู้เที่ยวไปอยู่) จรนฺต+อํ

สาธุวิหาริ = สาธุวิหารึ (ผู้มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี) สาธุ+วิหารี > สาธุวิหารี+อํ, ในอรรถกถาท่านแก้เป็น ภทฺทกวิหารึ (ผู้อยู่ด้วยธรรมอันงาม)

ธีรํ (นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา, บัณฑิต) ธีร+อํ

อภิภุยฺย  (ครอบงำแล้ว) อภิ+√ภู+ตฺวา > อภิภุยฺย

สพฺพานิ (ทั้งปวง) สพฺพ+โย สัพพนาม

ปริสฺสยานิ (อันตราย, ความลำบาก .) ปริสฺสย+โย นป.

จเรยฺย (เที่ยวไป) √จร++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

เตนตฺตมโน ตัดบทเป็น เตน (ด้วย..นั้น) +อตฺตมโน (มีใจยินดี, มีใจเป็นของตน) 

สติมา (ผู้มีสติ) สติมนฺตุ+สิ แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า อา สิมฺหิ. (รู ๙๘)


..


 

Keine Kommentare: