๑๗๓. ตำราคือดาบสองคม
อทนฺตทมนํ สตฺถํ, ขลานํ กุรุเต มทํ;
จกฺขุสงฺขารกํ เตชํ, อุลูกานํมิวนฺธกํฯ
„ตำราเป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ฝึกได้
หรือทำความมัวเมาให้เหล่าคนพาลก็ได้
เป็นดุจดวงไฟส่องสว่างแก่จักษุ
แต่ทำความมืดแก่พวกนกแสก(คนพาล).“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๗๓ มหารหนีติ ๙๕ ธัมมนีติ ๒๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อทนฺตทมนํ (การฝึกคนที่ยังไม่ได้ถูกฝึก) อทนฺต+ทมน > อทนฺตทมน+สิ
สตฺถํ (ศาสตร์, ตำรา, เกวียน, กองเกวียน, ศัตรา, หอก, มีด) สตฺถ+สิ นป.
ขลานํ (แก่คนพาล ท.) ขล+นํ วิ. ขลตีติ ขโล (คนที่หวั่นไหว ชื่อว่า ขละ) มาจาก √ขล-จลเน+อ ปัจจัย คำว่า ขล หมายถึง ทุชฺชน (คนชั่ว), อสาธุ (คนไม่ดี), อสปฺปุริส (ไม่ใช่สัตบุรุษ) และ ปาปชน (คนบาป) ดูสัททนีติ ธาตุมาลา.
กุรุเต (ย่อมกระทำ) √กร+โอ+เต ตนาทิคณะ กัตตุวาจก
มทํ (ซึ่งความเมา, ความมัวเมา) มท+อํ
จกฺขุสงฺขารกํ (เป็นเครื่องปรุงแต่งจักษุ, ช่วยให้ตาเห็นชัดขึ้น) จกฺขุ+สงฺขารก > จกฺขุสงฺขารก+สิ
เตชํ (เดช, อำนาจ, ความร้อน, ความรุ่งเรือง, ไฟ, แสง) เตช+สิ
อุลูกานมิวนฺธกํ ตัดบทเป็น อุลูกานํ+อิว+อนฺธกํ, อุลูกานํ (แก่นกแสก, นกฮูก ท.) อุลูก+นํ, อิว (ดุจ, เพียงดัง) นิบาตบอกอุปมา. อนฺธกํ (ซึ่งความมืด, ความสับสน, โง่เขลา) อนฺธก+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen