๑๗๕. เมื่อกรรมจะให้ผล
เยภุยฺเยน หิ สตฺตานํ, วินาเส ปจฺจุปฏฺฐิเต;
อนโย นยรูเปน, พุทฺธิมาคมฺม ติฏฺฐติฯ
„จริงอยู่ เมื่อเคราะห์กรรม ปรากฏเฉพาะแล้ว
แก่สัตว์ทั้งหลาย โดยส่วนมาก,
ความเสื่อม ย่อมปรากฏโดยรูปแห่งความเจริญ
เพราะอาศัยความรู้ (ของสัตว์เหล่านั้น).
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๗๕ สุตตันตนีติ ๔ จตุรักขทีปนี ๓๗ มรณัสสตินิทเทส)
..
ศัพท์น่ารู้ :
เยภุยฺเยน (โดยมาก, อย่างมาก) เยภุยฺย+นา
หิ (จริงอยู่, แท้จริง) นิบาต
สตฺตานํ (สัตว์ ท.) สตฺต+นํ ในสุตตันตนีติและจตุรักขทีปนี บาทคาถาแรกนี้ เป็น กมฺมาปราธสตฺตานํ.
วินาเส (ความพินาศ, ความเสียหาย, เคราะห์กรรม) วินาส+สฺมึ
ปจฺจุปฏฺฐิเต (ปรากฏเฉพาะแล้ว) ปติ+อุป+ฐา+อิ+ต > ปจฺจุปฏฺฐิต+สฺมึ
อนโย (ความพินาศ, ความฉิบหาย, ความไม่เจริญ, ความเสื่อม) น+นย > อนย+สิ
นยรูเปน (โดยรูปความดี, โดยรูปแห่งความเจริญ) นย+รุป > นยรูป+นา
พุทฺธิมาคมฺม ตัดบทเป็น พุทฺธึ+อาคมฺม (ความรู้, ปัญญา, ความฉลาด + อาศัยแล้ว, ถึงแล้ว) พุทฺธิ+อํ = พุทฺธึ, อา+คมุ+ตฺวา = อาคมฺม.
ติฏฺฐติ (ตั้ง, ยึน, ดำรง) ฐา+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฐา ติฏฺโฐ. (รู ๔๙๒)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen