Mittwoch, 25. November 2020

๑๗๖.๓ ผู้ไม่ยากจน-ชีวิตไม่เสียเปล่า

๑๗๖. ผู้ไม่ยากจน-ชีวิตไม่เสียเปล่า


ยสฺส เอเต ธนา อตฺถิ, อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา;

อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ, อโมฆํ ตสฺส ชีวิตํฯ


ทรัพย์เหล่านี้ มีแก่ผู้ใด

 เป็นหญิงหรือชายก็ตาม,

บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน, 

ชีวิตของผู้นั้น ไม่เปล่าประโยชน์.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๗๖. องฺ. สตฺตก. ๒๓/)


..


ศัพท์น่ารู้ :

()

ยสฺส (ของผู้ใด) +, สัพพนาม 

เอเต (เหล่านี้) เอต+โย, สัพพนาม

ธนา (ทรัพย์ .) ธน+โย แปลง โย เป็น อา ในนปุงสกลิงค์ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)

อตฺถิ (มีอยู่) อส++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. เป็นเอกพจน์ เป็นกิริยาอาขยาต หรือ เป็นนิบาตบทก็ได้ ในที่นี้เป็นนิบาต เพราะประธานเป็นพหูพจน์

อิตฺถิยา: (แก่สตรี, -หญิง) อิตถี+  หลังอิวัณณการันต์ในอิตถีลิงค์ แปลง เป็น ยา ด้วยสูตรว่า ปโต ยา. (รู ๑๘๓)

ปุริสสฺส (แก่บุรุษ, -ชาย) ปุริส+  ในปุงลิงค์ ใน วิภัตติ ลง สฺ อาคม ด้วยสูตรว่า สาคโม เส. (รู ๘๖)

วา (หรือ, ก็ตาม, ก็ดี) นิบาต

อทลิทฺโทติ: ตัดบทเป็น อทลิทฺโท+อิติ (ว่า คนไม่ยากจน, ไม่ใช่คนจน) อทลิทฺท+สิ บ้างแห่งเป็น อทฬิทฺโท ก็มี, อิติ (ว่า..ดังนี้, คือ) เป็นนิบาต

ตํ (ซึ้งผู้นั้น) +อํ สัพพนาม

อาหุ (ย่อมกล่าว, กล่าวแล้ว) พฺรู++อนฺติ  ภูวาทิ. กัตตุ. (วัตตมานา) แปลง อนฺติ ป็น อุ และแปลง พฺรู ธาตุเป็น อาห ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุฯ. (รู ๔๘๘); หรือ พฺรู+อุ ภูวาทิ. กัตตุ. (ปโรกขา.) แปลง พฺรู ธาตุเป็น อาห ด้วยสูตรว่า พฺรูภูนมาหภูวา ปโรกฺขายํ. (รู ๔๖๕)

อโมฆํ (ไม่สูญเปล่า, ไม่เปล่าประโยชน์, ไม่เป็นหมัน) อโมฆ+สิ

ตสฺส (ของเขานั้น) +, สัพพนาม

ชีวิตํ (ชีวิต, อายุ) ชีวิต+สิ นป.


..


 

Keine Kommentare: