Samstag, 28. November 2020

๑๗๘. หัวใจคนดี จ-ภ-ก-ส

๑๗๘. หัวใจคนดี ---


จช ทุชฺชนสํสคฺคํ, ภช สาธุสมาคมํ;

กร ปุญฺญมโหรตฺตํ, สร นิจฺจมนิจฺจตํฯ


จช-จงเลิกคลุกคลีกับคนชั่ว, 

ภช-จงคบหาสมาคมกับคนดี,

กร-จงทำความดีตลอดวันและคืน,

สร-จงนึกถึงความไม่เที่ยงเป็นนิจ.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๗๘ โลกนีติ ๔๒ ธัมมนีติ ๔๑๑)


..


ศัพท์น่ารู้ :


จช: (จงสละ, เลิก) √จช-จาเค++หิ,  จช ธาตุในอรรถว่าสละ

ทุชฺชนสํสคฺคํ: (ซึ่งการคลุกคลี, คละเคล้ากับคนชั่ว) ทุชฺชน (คนชั่ว) +สํสคฺค  (เกี่ยวข้อง, คลุกคลี) > ทุชฺชนสํสคฺค+อํ


ภช: (จงคบหา) √ภช-เสวายํ++หิ, ภช ธาตุในอรรถว่าคบหา 

สาธุสมาคมํ: (ซึ่งการสมาคมกับคนดี) สาธุ+สมาคม > สาธุสมาคม+อํ


กร: (จงทำ, สร้าง) = √กร-กรเณ++หิ, กร ธาตุในอรรถว่าทำ

ปุญฺญมโหรตฺตํ: ตัดบทเป็น ปุญฺญํ+อโหรตฺตํ (ซึงบุญ, ความดี+สิ้นกลางวันและกลางคืน) ปุญฺญ+อํ, อห+รตฺติ > อโหรตฺต+อํ เป็นสมาส ในสมาสให้เอา เป็น โอ ได้ เพราะเป็น มโนคณาทิศัพท์.


สร: (จงระลึก) √สร-คติจินฺตายํ++หิ, สร ธาตุในอรรถไปและคิดคำนึง

นิจฺจมนิจฺจตํ ตัดบทเป็น นิจฺจํ+อนิจฺจตํ (ซึ่งความไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน+เป็นนิจ, เป็นนิตย์) นิจฺจ+อํ = นิจฺจํ (แน่นอน, เสมอ). นิจฺจ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต นิจฺจตา, +นิจฺจตา > อนิจฺจตา+อํ วิ. นิจฺจสฺส ภาโว = นิจฺจตา (ความเป็นแห่งความเที่ยง ชื่อว่า นิจฺจตา), นิจฺจตา = อนิจฺจตา (ความเป็นของเที่ยง หามิได้ ชื่อว่า อนิจฺจตา).



.. อธิบายธาตุทั้งสี่โดยสังเขป.

จช (จงสละ) = √จช-จาเค++หิ,  จชธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าสละ

ภช (จงคบ) = √ภช-เสวายํ++หิ, ภชธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าคบหา

กร (จงทำ) = √กร-กรเณ++หิ, กรธาตุ-เป็นไปในอรรถว่าทำ

สร (จงระลึก) = √สร-คติจินฺตายํ++หิ, สรธาตุ-เป็นไปในอรรถคิดคำนึง


ทั้ง ศัพท์นี้ + ปัจจัย + หิ วิภัตติ เป็นหมวดปัญจมีวิภัตติ (ปญฺจมี ตุ อนฺตุ, หิ , มิ , ตํ อนฺตํ, สฺสุ วฺโห, เอ อามเส) ปรัสสบท, มัชฌิมบุรุษ, เอกวจนะ.

หลัง ปัจจัย ให้ลบ หิ วิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า หิ โลปํ วา. (รู.๔๕๒)


หากไม่ลบ ให้ทำเป็นทีฆะ จะมีรูปเป็น จชาหิ, ภชาหิ, กราหิ, สราหิ


..



ส่วนมาก กร ธาตุเราจะเห็นเป็นหมวด ตนาทิคณธาตุ มีรูปเป็น กโรติ แต่ในธาตฺวัตถสังคหะ ๔๘ กล่าวไว้ว่า กโร ตภู กเร, สฺวา วเธ หมายถึง กร ธาตุ..ในอรรถว่ากระทำ เป็นตนาทิ. และภูวาทิ. ในอรรถว่า กำจัด เป็นสฺวาทิ. คือเป็นได้ หมวดธาตุ ส่วนตัวอย่างจะเป็นอย่างไร ขอให้นักศึกสืบค้นกันต่อไปเถิด


ฝ่าย สร ธาตุเป็นได้ คณะธาตุ ตามที่คัมภีร์ธาตฺวัตถสังคหะ ๓๙๑ กล่าวไว้ว่า 


สโร ภู สติอุกฺกฏฺฐ-, หึสาสทฺเทสุ วตฺตติ;

จุ ตุ อกฺเขปวิตฺถาเร, ภูจุ คตฺยํ ปวตฺตติ.


(แปลว่า)

สร ธาตุ..ในอรรถว่าการระลึก, ประเสริฐ, เบียดเบียนและออกเสียง เป็นภูวาทิคณะ,

สร ธาตุ..ในอรรถไม่สิ้นไปและแผ่ไป เป็นจุราทิคณะ,

สร ธาตุ..ในอรรถไป ถึง (รู้) เป็นได้ทั้งภูวาทิคณะ และจุราทิคณะ


..


 

Keine Kommentare: