Dienstag, 3. November 2020

๑๕๗. หากไร้สหายก็พึงไปผู้เดียว

๑๕๗. หากไร้สหายก็พึงไปผู้เดียว


โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ,

สทฺธึ จรํ สาธุวิหาริ ธีรํ;

ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย,

เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโคฯ


ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์-

ผู้มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เที่ยวไปร่วมกัน,

พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงสละ

แว่นแคว้นเสด็จไปแต่พระองค์เดียว 

หรือเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปในป่าแต่เชือกเดียว ฉะนั้น.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๗ ขุ. . ๒๕/๒๓ นาควรรค ขุ. สุ. ๒๕/๒๙๖ ขัคควิสาณสูตรขุ. ชา. ๒๗/๑๒๒๔ โกสัมพิยชาดก)


..


ศัพท์น่ารู้ :


โน (ไม่, หามิได้) นิบาต

เจ (ถ้าว่า, หากว่า, ผิว่า) เป็นนิบาต

ลเภถ (พึงได้) √ลภ++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

นิปกํ (ผู้มีปัญญารักษาตน) นิปก+อํ

สหายํ (สหาย, เพื่อน, มิตร) สหาย+อํ

สทฺธึ (กับ, พร้อมกัน) นิบาต

จรํ (ผู้เที่ยวไปอยู่) จรนฺต+อํ

สาธุวิหาริ = สาธุวิหารึ (ผู้มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี) สาธุ+วิหารี > สาธุวิหารี+อํ, ในอรรถกถาท่านแก้เป็น ภทฺทกวิหารึ (ผู้อยู่ด้วยธรรมอันงาม)

ราชาว ตัดบทเป็น ราชา+อิว (พระราชา+ดุจ, ราวกะ, เหมือน) 

รฏฺฐํ (แว่นแคว้น, ประเทศ, รัฐ) รฏฺฐ+อํ

วิชิตํ (อันตนชนะแล้ว) วิชิต+อํ

ปหาย (ละแล้ว, ทิ้ง,​ สละ) +√หา+ตฺวา หลังธาตุที่มีอุปสัคเป็นบทหน้า ให้แปลง ตฺวา เป็น ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑) ในคาถาที่ผ่านมาเมื่อวาน ศัพท์ว่า อภิภุยฺย ก็เช่นกัน.

เอโก (ผู้เดียว, หนึ่ง, เอก) เอก+สิ สังขยาสัพพนาม

จเร (เที่ยวไป, จรไป) √จร++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

มาตงฺครญฺเญว ตัดบทเป็น มาตงฺโค+อรญฺเญ+อิว (ช้างชื่อว่ามาตังคะ + ในป่า + เหมือน) 

นาโค (ช้าง, ตัวหัวหน้าโขลง) นาค+สิ


..


 

Keine Kommentare: