Montag, 30. November 2020

๑๘๐-๑๘๑. วัตรบทของสัตบุรุษ

๑๘๐-๑๘๑. วัตรบทของสัตบุรุษ


มาตาเปตฺติภรํ ชนฺตุํ, กุเล เชฏฺฐาปจายินํ;

สณฺหํ สขิลสมฺภาสํ, เปสุเณยฺยปฺปหายินํฯ

มเจฺฉรวินเย ยุตฺตํ, สจฺจํ โกธาภิภุํ นรํ;

ตํ เว เทวา ตาวตึสา, อาหุ ‘‘สปฺปุริโส’’อิติฯ


เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวถึงนรชน 

ผู้เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา,

มีปรกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล, 

เจรจาอ่อนหวาน, กล่าวแต่คำสมานมิตรสหาย, 

ละคำส่อเสียด, ประกอบในอุบายเป็นเครื่องกำจัด-

ความตระหนี่, มีวาจาสัตย์, ครอบงำความโกรธได้ 

นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษ ดังนี้.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๘๐-  นรทักขทีปนี ๒๑๘-, สํ. . ๑๕/๙๐๗, ๙๑๑)


..


ศัพท์น่ารู้ :


)

มาตาเปตฺติภรํ: (ผู้เลี้ยงมารดาและบิดา) มาตุ+ปิตุ+ภร > มาตาเปตฺติภร+อํ

ชนฺตุํ (สัวต์เกิด, คน) ชนฺตุ+อํ

กุเล: (ในตระกูล, สกุล) กุล+สฺมึ

เชฏฺฐาปจายินํ: (ผู้มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญ) เชฏฺฐ+อปจายิน > เชฏฺฐาปจายิน+อํ

สณฺหํ: (ผู้สุภาพ, อ่อนโยน) สณฺห+อํ

สขิลสมฺภาสํ: (ผู้เจรจาอ่อนหวาน, นุ่มนวล) สขิล+สมฺภาส > สขิลสมฺภาส+อํ

เปสุเณยฺยปฺปหายินํ: (ผู้ละวาจาส่อเสียด, ทำให้เจ็บใจ) เปสุเณยฺย+ปหายิน > เปสุเณยฺยปฺปหายิน+อํ


)

มจฺเฉรวินเย: (ในการกำจัดความตระหนี่) มจฺเฉร+วินย > มจฺเฉรวินย+สฺมึ

ยุตฺตํ: (ผู้ประกอบแล้ว) ยุตฺต+อํ

สจฺจํ: (ผู้มีความสัจ, กล่าวคำสัจ) สจฺจ+อํ

โกธาภิภุํ: (ผู้ครอบงำความโกรธ) โกธ+อภิภู > โกธาภิภู+อํ 

นรํ: (นระ, นรชน, คน) นร+อํ

ตํ เว: (..นั้นแล) +อํ, ส่วน เว เป็นนิบาตบท

เทวา: (เทพ, เทวดา .) เทว+โย

ตาวตึสา: (ชั้นดาวดึงส์) ตาวตึส+โย 

อาหุ: (ย่อมกล่าว, กล่าวแล้ว)  พฺรู++อนฺติ วัตตมานา. หรือ พฺรู+อุ ปโรกขา. ก็ได้ ภูวาทิ. กัตตุ.

สปฺปุริโส อิติ: (ว่า สัตบุรุษ ดังนี้) สปฺปุริส+สิ, ส่วน อิติ เป็นนิบาตบท


..


ข้อความบางตอนจากพระสูตร 


วัตรบทของสัตบุรุษ ถ้ากล่าวให้ชัดก็คือ วัตรบท ประการของท้าวสักกะหรือพระอินทร์

ที่ปรากฏในปฐมเทวสูตรที่ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่มที่ ๑๗ ข้อ ๙๐๗, ๙๑๑ ว่า


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า 


"ดูกรภิกษุทั้งหลายท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน 

ได้สมาทานวัตรบท ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ประการ 

จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ,

 วัตรบท ประการเป็นไฉน? คือ เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต เราพึง

 ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต เราพึงพูดวาจาอ่อนหวาน

 ตลอดชีวิต เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต เราพึงมีใจปราศจากความ

 ตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม

 ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต เราพึง

 พูดคำสัตย์ตลอดชีวิต เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้น

 แก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว  


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ประการนี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ประการดังนี้ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ".


 พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า


"เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวถึงนรชน ผู้เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา

มีปรกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เจรจาอ่อนหวาน 

กล่าวแต่คำสมานมิตรสหาย ละคำส่อเสียด 

ประกอบในอุบายเป็นเครื่องกำจัดความตระหนี่ 

มีวาจาสัตย์ ครอบงำความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษ ดังนี้"


..


 

Keine Kommentare: