๑๗๗. ประโยชน์ของการคบสัตบุรุษ
สพฺภิเรว สมาเสถ, สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถวํ;
สตํ สทฺธมฺมมญฺญาย, เสยฺโย โหติ น ปาปิโยฯ
"บุคคลพึงอยู่ร่วมกับเหล่าสัตบุรุษ,
พึงกระทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ;
เมื่อรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว,
ย่อมมีแต่ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๗๗ โลกนีติ ๔๑ สํ. ส. ๑๕/๗๙ ขุ. ชา. ๒๘/๓๔๒, ๓๖๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
สพฺภิเรว: ตัทบทเป็น สพฺภิ+เอว+ร อักษรอาคม (ด้วยสัตบุรุษ ท. นั่นเทียว),
สพฺภิ (สัตบุรุษ, คนดี) = สนฺต+หิ
แปลง หิ เป็น ภิ ด้วยสูตรว่า “สฺมาหิสฺมึนํ มฺหาภิมฺหิ วา. (รู. ๘๑) = สนฺต+ภิ, แปลง สนฺต เป็น ส และลง ภฺ อาคม ด้วยสูตรว่า “สนฺตสทฺทสฺส โส เภ โพ จนฺเต. (รู. ๑๑๒) = ส+พฺ+ภิ รวมเป็น สพฺภิ.
เอว (นันเทียว, เท่านั้น) เป็นนิบาต
สมาเสถ: (พึงคบหา, สมาคม) สํ+√อาส+อ+เอถ ภูวาทิ. กัตตุ.
สพฺภิ: (สัตบุรุษ, คนดี) สนฺต+หิ
กุพฺเพถ: (พึงกระทำ) √กร+โอ+เอถ ตนาทิ. กัตตุ.
สนฺถวํ: (ซีงความใกล้ชิด, สันถวะ) สนฺถว+อํ
สตํ: (ของสัตบุรุษ ท.) สนฺต+นํ ทำ นฺต เป็น นฺตุ ด้วยสูตรว่า เสเสสุ นฺตุว. (๑๐๘) = สนฺตุ+นํ, แปลง นฺตุ กับ นํ เป็น ตํ ด้วยสูตรว่า นมฺหิ ตํ วา. (รู ๑๐๔) = ส+ตํ รวมเป็น สตํ แปลว่า แก่..จตุตถี., หรือ ของ..ฉัฏฐี. ก็ได้.
สทฺธมฺมมญฺญาย: ตัดบทเป็น สทฺธมฺมํ+อญฺญาย (รู้แล้วซึ่งธรรมอันประเสริฐ, เพราะรู้ซึ่งธรรมอันประเสริฐ, ซึงพระสัทธรรม)
เสยฺโย: (เจริญกว่า, น่าสรรเสริญกว่า) เสยฺย+สิ วิ. สพฺเพ อิเม ปสตฺถา อยมิเมสํ วิเสเสน ปสตฺโถติ เสยฺโย, เสฏฺโฐ, เชยฺโย, เชฏฺโฐ. (ดูรู ๓๙๒)
โหติ: (ย่อมเป็น) √หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
น: (ไม่, หามิได้) นิ.
ปาปิโย: (ลามกกว่า, บาปกว่า, เลวกว่า, เลวลง) ปาปิย+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen