Donnerstag, 5. November 2020

๑๕๙. ดุจหม้อน้ำที่เต็มตามกาล

๑๕๙. ดุจหม้อน้ำที่เต็มตามกาล


ชลพินฺทุนิปาเตน, จิเรน ปูรเต ฆโฏ;

ตถา สกลวิชฺชานํ, ธมฺมสฺส ธนสฺส จฯ


หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยดน้ำ

ที่ตกลงด้วยเวลาที่เนิ่นนาน ฉันใด

คนมีปัญญาย่อมเต็มได้ด้วยวิชาทั้งสิ้น

ด้วยธรรมะ และด้วยทรัพย์ ฉันนั้น.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๙)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ชลพินฺทุนิปาเตน (ด้วยการตกลงแห่งหยดน้ำ) ชล (น้ำ, ชล) + พินฺทุ (หยด, หยาด) + นิปาต (การตกไป, การหมอบ) ชลพินฺทุนิปาต+นา

จิเรน (โดยกาลนาน) จิร+นา

ปูรเต (เต็ม, บูรณ์) ปูร++เต ภูวาทิ. กัตตุ.

ฆโฏ (หม้อน้ำ, เหยือกน้ำ, ขัน; ก้อน, กลุ่ม, กอง) ฆฏ+สิ 

ตถา (เหมือนอย่างนั้น,​ เหมือนกัน,​ เช่นกัน) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ

สกลวิชฺชานํ (ด้วยวิชาทั้งปวง .) สกล+วิชฺชา > สกลวิชฺชา+นํ

ธมฺมสฺส (ด้วยธรรมะ, ความดีด้วย) ธมฺม+

ธนสฺส (ด้วยทรัพย์ด้วย) ธน+, ศัพท์เป็นนิบาต, ทั้งสามศัพท์ประกอบด้วยฉัฏฐวิภัตติก็จริง เมื่อแปลเข้ากับกิริยาว่า ปูรเต (ย่อมเต็ม) ให้แปลฉัฏฐีวิภัตติเป็นตติยาวิภัตติได้บ้าง เช่นพระบาฬีธรรมบทว่า อาปูรติ พาโล ปาปสฺส, โถกํ โถกํปิ อาจินํฯ (แปลว่า คนพาลสั่งสมบาปแม้ที่ละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาป).


..


 

Keine Kommentare: