Samstag, 7. November 2020

๑๖๑. ตำราดูม้าโคคน

 

๑๖๑. ตำราดูม้าโคคน


ชเวน อสฺสํ ชานนฺติ, วาเหน พลิพทฺธํ;

ทุเหน เธนุํ ชานนฺติ, ภาสมาเนน ปณฺฑิตํฯ


ม้าดี ย่อมรู้ได้ด้วยความเร็ว, 

โคกำลังดี ย่อมรู้ได้ด้วยลากบรรทุก,

แม่โคพันธ์ุดี ย่อมรู้ได้ด้วยการรีดนม,

ส่วนนักปราชญ์ ย่อมรู้ได้ด้วยคารม.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๖๑ ธัมมนีติ ๒๕๔ โลกนีติ ๖๒)



ศัพท์น่ารู้ :


ชเวน (ด้วยความเร็ว, ด่วน, คล่อง, ว่องไว, เชาว์) ชว+นา

ภทฺรํ (เจริญ, ดี, สง่างาม) ภทฺร+อํ ในที่นี้เป็นวิเสสนะ (คำขยาย) ของ ตุรงฺคํ หรือ อสฺสํ ที่แปลว่า ม้า

อาจเขียนใหม่ให้เต็มประโยคว่า ชวเน ภทฺรํ ตุรงฺคํ ชานนฺติ, วาเหน ภทฺรํ พลิพทฺทํ ชานนฺติ, ทุเหน ภทฺรํ เธนุํ ชานนฺติ เป็นต้น. ในกวิทัปปณนีติ เป็น อสฺสํ (ซึ่งม้า)

ชานนฺติ (ย่อมรู้, ทราบ, เข้าใจ) √ญา+นา+อนฺติ, กิยาทิ. กัตตุ.

วาเหน (ผู้นำไป, เกวียน) วาห+นา

(ด้วย, และ) นิบาตรวมรวมบท

พลิพทฺธํ (ซึ่งโคตัวมีกำลัง, โคพลิพัทธ์) พลพทฺธ+อํ, วิ. พลํ วทฺธยตีติ พลิวทฺโธ (โคหนุ่ม ชื่อว่า พลิพทฺธ เพราะอรรถว่า ยังกำลังให้เจริญ, = โคมีกำลัง)

ทุเหน (ด้วยการรีดนม) ทุห+นา

เธนุํ (ซึ่งแม่โค, ซึงโคแม่ลูกอ่อน) เธนุ+อํ,  วิ. ธยติ ปิวติ อิโต ขีรํ โปตโกติ เธนุ 

(ลูกโคน้อยย่อมดื่มนมจากแม่โคนี้ เหตุนั้น แม่นี้ ชื่อว่า เธนุ)

ภาสมาเนน (ด้วยการกล่าว, -เจรจา, = คารม) ภาสมาน+นา

ปณฺฑิตํ (ซึ่งบัณฑิต, ผู้ปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+อํ


อันที่จริงคาถานี้ ถ้าแปลแบบให้เข้าใจง่าย (ไม่ต้องเคร่งไวยากรณ์) อาจแปลได้ว่า

ม้าดี ให้ดูที่ความเร็ว

โคกำลังดี ให้ดูที่เวลาลากของ

แม่โคพันธุ์ดี ให้ดูเวลารีดนม

คนดี ให้ดูที่การเจรจา.


..


Keine Kommentare: