๑๖๒. พูดทีหลังดังกว่า
มนสา จินฺติตํ กมฺมํ, วจสา น ปกาสเย;
อญฺญลกฺขิตการิยสฺส, ยโต สิทฺธิ น ชายเตฯ
„การงานที่ตนคิดแล้วด้วยใจ
คนฉลาดไม่ควรเปิดเผยด้วยวาจา,
เมื่อบุคคลเป็นเป้าสายตาคนอื่น
ความสำเร็จอาจไม่เกิดมีตามที่พูดก็ได้.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๖๒ จาณักยนีติ ๓๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
มนสา (ด้วยใจ, ทางใจ) มน+นา แปลง นา เป็น อา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า มโนคณาทิโต สฺมึนานมิอา. (รู ๙๕), ลง ส อาคมหลังมโนคณศัพท์เป็นต้น ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ส สเร วาคโม. (รู ๙๖)
จินฺติตํ (อันเขาคิดแล้ว, ถูกคิดแล้ว) √จินฺต+อิ+ต > จินฺติต+อํ
กมฺมํ (กรรม, การงาน) กมฺม+อํ
วจสา (ด้วยวาจา, คำพูด) วจ+นา ทำตัวเหมือน มนสา.
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ปกาสเย (ประกาศ, เปิดเผย) ป+√กาส+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.
อญฺญลกฺขิตการิยสฺส, (หน้าที่ที่คนอื่นกำหนดไว้แล้ว) อญฺญ (คนอื่น)+ลกฺขิต (กำหนด, จดจำ, ทำเครื่องหมาย)+การิย (ธุระ, หน้าที่, สิ่งที่ควรทำ) > อญฺญลกฺขิตการิย+ส
ยโต (แต่ที่ใด) ย+โต ปัจจัยในอรรถปัญจมีวิภัตติ จัดเป็นนิบาต
สิทฺธิ (ความสำเร็จ) สิทฺธิ+สิ
น (ไม่, หามิได้) นิบาต
ชายเต (ย่อมเกิด) √ชน+ย+เต ทิวาทิ. กัตตุ. แปลงที่สุดธาตุเป็น อา ด้วยการแบ่งสูตรว่า ชนาทีนมา. (รู ๙๑๖)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen