Freitag, 11. Dezember 2020

๑๙๒. คนดีย่อมไม่เป็นที่รักของคนชั่ว

๑๙๒. คนดีย่อมไม่เป็นที่รักของคนชั่ว


โอวเทยฺยานุสาเสยฺย, อสพฺภา นิวารเย;

สตญฺหิ โส ปิโย โหติ, อสตํ โหติ อปฺปิโยฯ


"บุคคลใด ย่อมให้โอวาท ย่อมสั่งสอน, 

และห้ามผู้อื่นจากธรรมที่มิใช่ของสัตบุรุษ; 

บุคคลนั้นแล ย่อมเป็นที่รักใคร่ของเหล่าสัตบุรุษ, 

แต่จะไม่เป็นที่รักใคร่ของพวกอสัตบุรุษ.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๙๒, โลกนีติ ๕๙, ขุ. . ๒๕/๑๖, ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๖)


..


ศัพท์น่ารู้:


โอวเทยฺยานุสาเสยฺย: ตัดบทเป็น โอวเทยฺย+อนุสาเสยฺย (ควรโอวาท ควรสั่งสอน) 

โอวเทยฺย (ควรโอวาท, กล่าวสอน) อว+√วท++เอยฺย, 

อนุสาเสยฺย (ควรสั่งสอน, ตามสอน, อนุศาสน์) อนุ+√สาส(สาสุ)++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. 


อสพฺภา: (จากธรรมที่มิใช่ของสัตบุรุษ) อสพฺภ+สฺมา  ในโลกนีติ เป็น ปาปกา (จากบาป)

: (ด้วย, และ) เป็นนิบาต 

นิวารเย: (ควรห้าม) นิ+√วร+ณย+เอยฺย จุราทิ.​ กัตตุ.


สตญฺหิ: ตัดบทเป็น สตํ+หิ (ของสัตบุรุษ+แต่, ที่แท้) สตํ (ของสัตบุรุษ, คนดี .) สนฺต+นํ, หิ เป็นนิบาต (ศัพท์นี้ในพระบาฬีภาษาไทยเป็น สตํ หิ ไม่ได้เป็นบทสนธิกัน)

โส: (..นั้น) +สิ สัพพนาม 

ปิโย: (ที่รัก) ปิย+สิ 

โหติ: (ย่อมเป็น) √หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. 


อสตํ: (ของอสัตบุรุษ, คนพาล .) อสนฺต+นํ 

อปฺปิโย: (ไม่เป็นที่รัก) อปฺปิย+สิ


..


 

Keine Kommentare: