๑๙๘. ทางแห่งความเสื่อม
อสนฺตสฺส ปิโย โหติ, สนฺเต น กุรุเต ปิยํ;
อสตํ ธมฺมํ โรเจติ, ตํ ปราภวโต มุขํฯ
"คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก
ไม่ทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก
ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ,
ข้อนั้น เป็นทางของคนเสื่อม.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๙๘, โลกนีติ ๖๗, สุตตันตนีติ ๔, ขุ. สุ. ๒๕/๓๐๔ ปราภวสูตร)
..
ศัพท์น่ารู้:
อสนฺตสฺส (ของอสัตบุรุษ) น+สนฺต > อสนฺต+ส
ปิโย (ที่รัก, ที่พอใจ) ปิย+สิ, ศัพท์นี้ในพระบาฬีเป็น ปิยา
โหติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น) √หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
สนฺเต (ซึ่งคนดี, สัตบุรุษ ท.) สนฺต+โย
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
กุรุเต (กระทำ) √กร+โอ+เต ตนาทิ. กัตตุ.
ปิยํ (ที่รัก, ให้เป็นที่รัก) ปิย+อํ
อสตํ (ของอสัตบุรุษ ท.) อสนฺต+นํ
ธมฺมํ (ซึงธรรม) ธมฺม+อํ
โรเจติ (ชอบใจ, พอใจ, ยินดี, ชื่นชม) √รุจ+เณ+ติ จุราทิ. กัตตุ.
ตํ (..นั้น) ต+สิ สัพพนาม
ปราภวโต (ของผู้เสื่อมอยู่) ปรา+√ภู+อ+นฺต > ปราภวนฺต+ส
มุขํ (ทาง, ปาก, หน้า, มุข) มุข+สิ
…..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen