Samstag, 19. Dezember 2020

๒๐๐. ชีวิตต้องสู้

๒๐๐. ชีวิตต้องสู้


ปุพฺพชาติกตํ กมฺมํ, ตํ กมฺมมีติ กถฺยเต;

ตสฺมา ปุริสากาเร นํ, ยตํ กเร อตนฺทิโตฯ


"กรรมที่ทำแล้วในชาติกก่อนนั้น, 

ผู้มีปัญญาอธิบายว่า เป็นกรรมวิบาก

เพราะฉะนั้น อย่าเป็นคนเกียจคร้าน

ควรทำความเพียรให้เต็มกำลังเถิด.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๒๐๐)


..


ศัพท์น่ารู้:


ปุพฺพชาติกตํ: (ที่กระทำในชาตก่อน, ในชาติที่แล้ว) ปุพฺพ+ชาติ+กต > ปุพฺพชาติกต+สิ

กมฺมํ: (กรรม, ผลกรรม, การงาน) กมฺม+สิ

ตํ: (..นั้น) +สิ สัพพนาม

กมฺมมีติ: ตัดบทเป็น กมฺมํ+อิติ (ว่า เป็นกรรม) 

กถฺยเต: (อันเขาย่อมกล่าว, ย่อมถูกกล่าว) √กถ++เต จุราทิ. กัมม. กถ ธาตุตัวนี้เป็นได้ คณะ ตามในธาตฺวัตถสังคหะ ๔๓ แสดงไว้ว่า "กโถ หึสาปาเก ภู, วากฺเย จุ.“ (แปลว่า) กถ ธาตุเป็นภูวาทิคณะไปในอรรถว่า เบียดเบียนและหุงต้ม, ที่เป็นจุราทิคณะ เป็นไปในอรรถว่า กล่าว, แสดง, ชี้แจง, อธิบาย. 

ตสฺมา: (เพราะเหตุนั้น) +สฺมา สัพพนาม, หรือ เป็นนิบาตบท ก็ได้ 

ปุริสากาเรนํ: อาจแยกบทเป็น ปุริสากาเร+นํ หรือ ปุริสากาเรน (ด้วยอาการของลูกผู้ชาย)

ยตํ: (พยายาม, อุตส่าห์, สำรวม) ยต+อํ 

กเร (พึงกระทำ) √กร+โอ+เอยฺย เป็นตนาทิคณะ หรือ กร++เอยฺย เป็นภูวาทิคณะก็ได้ เพราะในธาตฺวัตถสังคหะ ๔๘ แสดงไว้ว่า กโร ตภู กเร, สฺวา วเธ. (แปลว่า) กร ธาตุที่เป็นตนาทิคณะและภูวาทิคณะย่อมเป็นไปในอรรถว่า กระทำ, ที่เป็น สฺวาทิคณะเป็นไปในอรรถว่ากำจัด

อตนฺทิโต: (ผู้ไม่เกียจคร้าน, ไม่ขี้เกียจ, ไม่เฉื่อยชา) +ตนฺทิต > อตนฺทิต+สิ


ศัพท์ว่า "อตนฺทิโต" มีใช้ในพระบาฬีหลายแห่ง เช่น ในเถรคาถา (ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙) ว่า


โสหํ เอโก อรญฺญสฺมึ, วิหรนฺโต อตนฺทิโต;

อกาสึ สตฺถุ วจนํ, ยถา มํ โอวที ชิโน.


"เรานั้น เมื่ออยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน; 

ได้ทำตามพระดำรัสของพระศาสดาผู้พิชิตมาร 

ที่ทรงสั่งสอนเรา"


 

Keine Kommentare: