Mittwoch, 2. Dezember 2020

๑๘๓ คำสัตบุรุษจะไม่ผันแปร

๑๘๓ คำสัตบุรุษจะไม่ผันแปร


อุเทยฺย ภาณุ ปจฺฉิเม, นเมยฺย เมรุอทฺทิปิ;

สีตลํ ยทิ นรคฺคิ, ปพฺพตคฺเค อุปฺปลํ;

วิกเส วิปริตา, สาธุวาจา กุทาจนํฯ


พระอาทิตย์ พึงขึ้นทางตะวันตก,

แม้เขาสุเมรุ พึงน้อมลงมา,

แม้ไฟในนรก พึงดับเย็น,

และดอกบัว พึงบานบนยอดเขา,

คำของสัตบุรุษ ย่อมไม่ผันแปร ในกาลไหน


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๘๓, โลกนีติ ๔๙)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อุเทยฺย: (พึงขึ้น, อุทัย) √อุท++เอยฺย หรือ อุ+√อิ++เอยฺย + อาคม ? 

ภาณุ: (พระอาทิตย์) ภาณุ+สิ 

ปจฺฉิเม: (ในทิศปัจฉิม, ตะวันตก) ปจฺฉิม+สฺมี

นเมยฺย: (พึงน้อม, เอนเอียง) นมุ++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

เมรุอทฺทิปิ: (แม้ภูเขาพระสุเมร, เมรุราชบรรพต) เมรุอทฺทิ+อปิ, อทฺทิ  แปลว่า ภูเขา เป็นปุงลิงค์

สีตลํ: (เย็น, ความเย็น) สีตล+สิ 

ยทิ: (ถ้าว่า, หากว่า) นิบาตบท 

นรคฺคิ: (ไฟในนรก) ศัพท์นี้อาจจะคลาดเคลื่อนมาจาก "นรกคฺคิ" เหมือนในโลกนีติ ที่ได้ยกมาเทียบเคียงไว้ด้านล่างนั้นแล้ว.

ปพฺพตคฺเค: (บนยอดแห่งภูเขา, บรรพต) ปพฺพต+อคฺค > ปพฺพคฺค+สฺมึ 

: (ด้วย, และ) นิบาตบท 

อุปฺปลํ: (ดอกบัว, อุบล) อุปฺปล+สิ


วิกเส: (พึงบาน, เบ่งบาน) วิ+กส++เอยฺย ธาตฺวัตถสังคหะ ๕๑ กล่าวว่า "..กโส ตุ วิเลขสทฺทหึสน-; คตีสุ วิปุพฺโพ ผุลฺเล. แปลว่า "ส่วนว่า กส ธาตุเป็นไปในอรรถว่า ขีดเขียน ออกเสียง เบียดเบียน และไป. ที่มี วิ อุปสัคอยู่หน้า เป็นไปในอรรถว่า บาน.“

: (ไม่, หามิได้) นิบาตบท 

วิปริตา: (ผันแปร, วิปริต, กลับกลอก) วิปริตา+สิ


สาธุวาจา: (วาจาของคนดี, คำพูดของคนดี) สาธุวาจา+สิ ในโลกนีติ เป็น สาธุวากฺยํ (อันที่จริงเดิมเป็น สาธุวายฺยํ ได้แก้เป็น สาธุวากฺยํ คิดว่าเป็นศัพท์ที่คลาดเคลื่อน)

กุทาจนํ: (ในกาลไหน ) กึ+ทาจนํ 



ส่วนในโลกนีติ (โลกนีติ ๔๙) มีข้อความแปลกกันนิดหน่อยดังนี้


อุเทยฺย ภาณุ ปจฺฉิเม, เมรุราชา นเมยฺยปิ;

สีตลา นรกคฺคิปิ, ปพฺพตคฺเค อุปฺปลํฯ

วิกเส วิปรีตํ, สาธุวากฺยํ กุทาจนํฯ


..


 

Keine Kommentare: