๒๐๒. อย่าประมาท-เร่งทำความดี
อุฏฺฐาโยฏฺฐาย โพเธยฺยํ, มหพฺภยมุปฏฺฐิตํ;
มรณพฺยาธิโสกานํ, กิมชฺช นิปติสฺสติฯ
"เราผุดลุกผุดนั่งแล้ว พึงรู้เถิดว่า
ภัยใหญ่ปรากฏแล้ว จักตกไป
แก่เหล่าสัตว์ผู้มีความโศกเพราะ
มรณะและพยาธิในวันนี้ มิใช่หรือ!“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๒๐๒)
..
ศัพท์น่ารู้:
อุฏฺฐาโยฏฺฐาย: ตัดบทว่า อุฏฺฐาย+อุฏฺฐาย (ลุกขึ้นแล้ว ๆ, ผุดลุกผุดนั่ง) อุ+√ฐา+ตฺวา หลังธาตุมีมีอุปสัคเป็นบทหน้าให้แปลง ตฺวา เป็น ย ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑), ทำอสทิสเทฺวภาวะ (ซ้อนรูปที่ไม่เหมือนกัน) ด้วยสูตรว่า วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒)
โพเธยฺยํ: (พึงรู้, พึงตื่น) √พุธ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
มหพฺภยมุปฏฺฐิตํ: ตัดบทเป็น มหพฺภยํ+อุปฏฺฐิตํ (ภัยใหญ่ปรากฏแล้ว) มหพฺภยํ (ภัยใหญ่, สิ่งที่น่ากลัวมาก) มหพฺภย+สิ, อุปฏฺฐิตํ (เข้าไปตั้งแล้ว, ปรากฏแล้ว) อุปฏฺฐิต+สิ
มรณพฺยาธิโสกานํ: (แก่สัตว์ผู้มีความโศกเพราะมรณะและพยาธิ ท.) มรณ+พฺยาธิ+โสก > มรณพฺยาธิโสก+นํ
กิมชฺช: ตัดบทเป็น กึ+อชฺช (ในวันนี้มิใช่หรือ) กึ (อะไร, มิใช่หรือ) กึ+อํ กิริยาวิเสสนะ
นิปติสฺสติ: (จักตกไป, หล่น, ล้มไป) นิ+√ปต+อิ+สฺสติ ภูวาทิ. กัตตุ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen