๒๐๓.๑ ชีวิตเขา-ชีวิตเรา
ปาณา ยถาตฺตโนภิฏฺฐา, ภูตานมปิ เต ตถา;
อตฺโตปเมน ภูเตสุ, ทยํ กุพฺพนฺติ สาธโวฯ
"ชีวิตของตนเป็นที่รักและหวงแหน ฉันใด,
ชีวิตเหล่านั้นแม้ของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น;
เหตุนั้น สาธุชนคนดี ควรทำความเอ็นดู
ในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการเปรียบกับตนเถิด.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๒๐๓.๑)
..
ศัพท์น่ารู้:
ปาณา: (ส้ตว์, ชีวิต, ลมหายใจ, ปราณ) ปาณ+โย
ยถาตฺตโนภิฏฺฐา: ตัดบทเป็น ยถา+อตฺตโน+อภิฏฺฐา (ฉันใด+ของตน+ที่รักยิ่ง, ฐานะอันยิ่ง) ยถา เป็นนิบาตบอกอุปมา, อตฺตโน (ของตน) อตฺต+ส, อภิฏฐา (ฐานอันยิ่ง, ฐานะอันหนัก, อนันตริยกรรม) อภิฏฺฐ+โย
ภูตานมปิ: ตัดบทเป็น ภูตานํ+อปิ, ภูต+นํ = ภูตานํ (ของภูต, สัตว์ ท.)
เต: (เหล่านั้น) ต+โย สัพพนาม
ตถา: (อย่างนั้น, ฉันนั้น) เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ
อตฺโตปเมน: (ด้วยการเปรียบกับตน, ด้วยการอุปมากับตน) อตฺต+อุปม > อตฺโตปม+นา
ภูเตสุ: (ในภูต, ในสัตว์ ท.) ภูต+สุ
ทยํ: (ความเอ็นดู, ความกรุณา) ทยา+อํ อิต.
กุพฺพนฺติ: (ย่อมทำ, กระทำ) √กร+โอ+อนฺติ ตนาทิ. กัตตุ. แปลง โอ ปัจจัย เป็น อุ ได้บ้างด้วยสูตรว่า อุตฺตโมกาโร. (รู ๕๒๑), แปลงที่ อ ของธาตุเป็น อุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กรสฺสากาโร จ. (๕๒๒), แปลง อุ เป็น ว ด้วยสูตรว่า ยวการา จ. (รู ๕๐๕), ลบ ร อักษรที่สุดธาตุ ด้วยสูตว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘), ซ้อน วฺ เป็น วฺว, แปลง วฺว เป็น พฺพ ด้วย จ ศัพท์ในสูตรว่า โท ธสฺส จ. (รู ๒๗).
สาธโว: (คนดี, สาธุชน ท.) สาธุ+โย
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen