Montag, 28. Dezember 2020

๒๐๘. คนพาลเหมือนหม้อน้ำพร่อง

๒๐๘. คนพาลเหมือนหม้อน้ำพร่อง


อติปิโย กาตพฺโพ, ขโล โกตุหลํ กโร;

สิรสา วหมาโนปิ, อฑฺฒปูโร ฆโฏ ยถาฯ


"„คนพาลชอบสร้างความวุ่นวาย

จึงไม่ควรทำให้เป็นสุดที่รัก,

เหมือนหม้อน้ำที่พร่องทั้งกึ่ง

แม้เอาหัวเทินไป ก็ยังกระฉอกได้.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๐๘, โลกนีติ ๖๘)


..


ศัพท์น่ารู้:


อติปิโย: (ที่รักยิ่ง, ยอดรัก, รักอย่างยิ่ง) อติปิย+สิ ในโลกนีติเป็น อติปฺปิโย

: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 

กาตพฺโพ: (อันเขาควรทำ, พึงถูกกระทำ) กาตพฺพ+สิ 

ขโล: (คนพาล, คนชั่ว) ขล+สิ ในพจนานุกรมบาลี-ไทย ท่านแปลว่า ลานข้าว, ตะกอน, ผงละเอียด, ความชั่ว,  ขล ศัพท์เป็นปุงลิงค์ หมายถึง ทุรชน (ทุชฺชโน), คนไม่ดี (อสาธุ), คนไม่ประเสริฐ (อสปฺปุริโส), คนชั่ว, คนบาป (ปาปชโน), แต่ถ้าเป็น นปุงสกลิงค์ แปลว่า ลานข้าวเปลือก 

มาจาก ชล-สญฺจินเน ธาตุในความรวบรวม, สั่งสม + ปัจจัย

กิริยาเป็น ขลติ (ย่อมรวบรวม), นามเป็น ขลํ (ลาน)

วิ. ขลนฺติ สญฺจินนฺติ ราสึ กโรนฺติ เอตฺถ ธญฺญานีติ ขลํ (ขล+)

คน . รวบรวม สั้งสม คือ กระทำข้าวเปลือกในเป็นกอง ในที่นี้ เหตุนั้น ที่นี้ ชื่อว่า ขล (ลาน)

หรือแปลเอาความว่า ลานข้าว ชื่อว่า ขล เพราะอรรถว่า เป็นรวบรวมข้าวเปลือกให้เป็นกอง ของชน . เป็นกัตตุรูป อธิกรณสาธนะ

(ที่มา สัททนีติ ธาตุมาลา, อภิธานัปปทีปิกาสูจิ)

โกตุหลํ: (เอะอะ, โวยวาย, อึกทึก, ครึกโครม) โกตุหล+อํ 

กโร: (กระทำ) กร+ ? 

สิรสา: (ด้วยศีรษะ) สิร+นา แปลง นา เป็น อา หลังมโนคณาทิศัพท์ ด้วยสูตรว่า มโนคณาทิโต สฺมึนานมิอา. (รู ๙๕) = สิร+อา, ลง อาคมด้วยสูตรว่า สเร วาคโม. (รู ๙๖) = สิร++อา แยกลบรวมสำเร็จรูปเป็น สิรสา.

วหมาโนปิ: (แม้นำไปอยู่) วหมาโน+อปิ เป็นกัตตรูป ในโลกนีติเป็น วหฺยมาโนปิ,  ศัพท์นี้ตามหลักน่าจะเป็น วุยฺหมาโนปิ มากว่า เพราะมาจาก วห++มาน+สิ ให้เอา หฺย เป็น ยฺห เรียกว่า หวิปริยาย ด้วยสูตรว่า หปริยโย โล วา. (รู ๔๘๒), แปลงสระต้นธาตุเป็น อุ ด้วยสูตรว่า วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู ๔๗๘)

อฑฺฒปูโร: (ที่เต็มครึ่งหนึ่ง, เต็มกึ่งหนึ่ง, พร่อง) อฑฺฒ (ครึ่ง, กึ่ง)+ปูร (เต็ม) > อฑฺฒปูร+สิ 

ฆโฏ: (หม้อ, ไห) ฆฏ+สิ 

ยถา: (เหมือน, ดุจ) เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ


..


 

Keine Kommentare: