Freitag, 25. Dezember 2020

๒๐๕. คนดีย่อมไม่ปนกับคนชั่ว

๒๐๕. คนดีย่อมไม่ปนกับคนชั่ว


อากิณฺโณปิ อสนฺเตหิ, อสํสฏฺโฐว ภทฺทโก;

พหุนา สนฺนชาเตน, คจฺเฉ อุพฺพตฺเตนิธฯ


คนดี แม้จะอยู่ปะปนกันกับคนชั่ว,

ก็ไม่คลุกคลีกับพวกคนชั่วนั่นเทียว

คนดีพึงไปร่วมกับคนวิกลจริต

ที่มาสนิทกับตนในโลกนี้ หามิได้.


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๒๐๕ มหารหนีติ ๕๐ ธัมมนีติ ๑๔๔)


..


ศัพท์น่ารู้:


อากิณฺโณปิ: = อากิณฺโณ+อปิ, อากิณฺโณ (ระคนกัน, ปนกัน, เกลื่อนกล่น) อากิณฺณ+สิ, อปิ (แม้, ถึงจะ) เป็นอุปสัค หรือ หรือนิบาต ก็มี

อสนฺเตหิ: (อสัตบุรุษ, คนชั่ว .) อสนฺต+หิ

อสํสฏฺโฐว: = อสํสฏฺโฐ+เอว (หรืออาจเป็น +อิว ?) อสํสฏฺโฐ (เกี่ยวข้อง, คลุกคลี) อสํสฏฺฐ+สิ, เอว (นั้นเทียว, เท่านัน, แท้) นิบาตบอกความเจาะจง 

ภทฺทโก: (เจริญ, ดี, สง่างาม) ภทฺทก+สิ

พหุนา: (มากมาย, จำนวนมาก)  พหุ+นา 

สนฺนชาเตน: (ใกล้ชิด, ใกล้เคียง) สนฺนชาต+นา, สองศัพท์นี้อาจเป็นสนธิกันเป็น พหุนาสนฺนชาเตน แยกบทเป็น พหุนา+อาสนฺนชาเตน เพราะ อาสนฺน แปลว่า ใกล้ชิด, ใกล้เคียง 

คจฺเฉ: (พึงไป) √คมุ++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

: (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาต, คจฺเฉ แปลว่า ไม่ควรไป, ไม่พึงไป

อุพฺพตฺเตนิธ: = อุพฺพตฺเตน+อิธ (พองขึ้น, บวมขึ้น, ฉีกออก, ผู้เดินทางผิด +ในที่นี้, ในโลกนี้) อุพฺพตฺเตน (พองขึ้น,..) อุพฺพตฺต+นา, อิธ (ในโลกนี้) อิม+ ลง ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อิมสฺมา หธา . (รู ๒๗๔), ศัพท์นี้ในมหารหนีติและธัมมนีติ เป็น อุมฺมตฺตเกน (อุมฺมตฺตก) แปลว่า คนบ้า, คนวิกลจริต 


จบสุชนกัณฑ์ หมวดว่าด้วยคนดี แต่เพียงเท่านี้ ต่อไปจะขึ้นกัณฑ์ที่ คือ พาลทุชชนกัณฑ์ หมวดว่าด้วยคนพาลต่อไป.


..


 

Keine Kommentare: