๑๘๗. พ่อแม่คือตัวอย่างที่ประเสริฐ
มาตุเสฏฺโฐ สุภาโส หิ, ปิตุเสฏฺโฐ สุกิริโย;
อุโภ มาตุ ปิตุเสฏฺฐา, สุภาสา จ สุกิริยาฯ
„ลูกที่มีแม่เป็นคนดี มักพูดจาดีอ่อนหวาน,
ลูกที่มีพ่อเป็นคนดี มักมีกิริยาอ่อนโยน
ลูกมีพ่อและแม่ทั้งสองเป็นคนดี,
จะเป็นคนพูดจาสุภาพ มีกิริยาเรียบร้อย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๘๗, โลกนีติ ๕๓, ธัมมนีติ ๒๕๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
มาตุเสฏฺโฐ: (ผู้มีมารดาประเสริฐ, -ดี) มาตุ+เสฏฺฐ > มาตุเสฏฺฐ+สิ
สุภาโส: (มีคำพูดดี, -สุภาพ, -อ่อนหวาน) สุภาส+สิ
หิ: (จริงอยู่, แท้จริง, เพราะว่า) เป็นนิบาติ
ปิตุเสฏฺโฐ: (ผู้บิดาประเสริฐ, -ดี) ปิตุ+เสฏฺฐ > ปิตุเสฏฺฐ+สิ
สุกิริโย: (ผู้มีกิริยดี, -สุภาพ, -อ่อนโยน) สุกิริย+สิ
อุโภ: (ทั้งสอง) อุภ+โย อุภ ศัพท์เป็นสัพพนาม เป็นปริยาย (คำไวพจน์) ของ ทฺวิ ศัพท์ (สอง) แจกปทมาลาเป็นพหูพจน์เท่านั้น วิธีทำตัว คือ ให้แปลง โย เป็น โอ ด้วย ตุ ศัพท์ ในสูตรว่า ตโต โยนโม ตุ. (รู ๑๖๐)
มาตุปิตุเสฏฺฐา: (ผู้มีมารดาและบิดาดี, -ประเสริฐ) มาตุ+ปิตุ+เสฏฺฐ > มาตุปิตุเสฏฺฐ+โย
สุภาสา: (ผู้มีวาจาสุภาพ) สุภาสา+โย
จ: (ด้วย, และ) เป็นนิบาตบท
สุกิริยา: (ผู้มีกิริยาเรียบร้อย, -อ่อนโยน, -สุภาพ) สุกิริย+โย
คาถานี้ในโลกนีติ (โลกนีติ ๕๓) และธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๕๐) มีข้อความต่างจากกวิทัปปณนีติ ดังนี้.
มาตา เสฏฺฐสฺส สุภาสา,
ปิตา เสฏฺฐสฺส สุกฺริยา;
อุโภ มาตา ปิตา เสฏฺฐา,
สุภาสา จ สุกิริยาฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen