Dienstag, 8. Dezember 2020

๑๘๙. ช้าเป็นการ-นานเป็นดี

๑๘๙. ช้าเป็นการ-นานเป็นดี


เวเคน กิจฺจานิ, กตฺตพฺพานิ กุทาจนํ;

สหสา การิตํ กมฺมํ, พาโล ปจฺฉานุตปฺปติฯ


"ก็ บุคคลไม่ควรทำกิจทั้งหลาย

โดยผลุนพลันในกาลไหน ; 

และไม่ควรให้ผู้อื่นทำโดยผลุนพลัน,

(เพราะการให้ทำการงานโดยผลุนพลัน)

คนเขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๘๙, โลกนีติ ๕๖, ขุ.ชา. ๒๗/๒๔๔๒ เตสกุณชาดก)


..


ศัพท์น่ารู้:


: (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาต

: (ก็, อนึ่ง, ด้วย, และ) เป็นนิบาต

เวเคน: (โดยเร็ว, ฉับพลัน, ผลุนผลัน, หุนหัน, ตะลีตะลาน) เวค+นา 

กิจฺจานิ: (กิจ, การงาน, ธุระ .) กิจฺจ+โย หลังอการันต์ในนปุงสกลิงค์ แปลง โย เป็น นิ แน่นอน ด้วยสูตรว่า อโต นิจฺจํ. (รู ๑๙๖)

 

กตฺตพฺพานิ: (พึง-, ควรกระทำ, ลงมือ) กตฺตพฺพ+โย 

กุทาจนํ: (ในกาลไหนๆ, ทุกเมื่อ) กึ+ทาจนํ


สหสา: (โดยฉับพลัน, เร็ว, ผลุนพลัน) เป็นนิบาตบท (อภิธานัปปทีปกา คาถา ๑๑๔๘)  

การิตํ: (อันเขาให้กระทำแล้ว) √กร+เณ+อิ+ > การิต+สิ 

กมฺมํ: (กรรม, การงาน, ธุระ) กมฺม+สิ

 

พาโล: (คนพาล, คนเขลา, คนโง่) พาล+สิ ในโลกนีติและพระบาฬี เป็น มนฺโท (อ่อน, เบา, โง่)

ปจฺฉานุตปฺปติ: ตัทบทเป็น ปจฺฉา+อนุตปฺปติ (ย่อมเดือดร้อนในภาหลัง) ปจฺฉา (ในภายหลัง) เป็นนิบาตใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ, อนุตปฺปติ (ย่อมเดือดร้อย, ตามเดือดร้อน) อนุ+√ตป++ติ ทิวาทิ. กัตตุ.




ส่วนในพระบาฬี ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๒๗ ข้อ ๒๔๔๒ (ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๔๒) มีข้อความดังต่อไปนี้ 


มา เวเคน กิจฺจานิ, กโรสิ การเยสิ วา;

เวคสา หิ กตํ กมฺมํ, มโนฺท ปจฺฉานุตปฺปติฯ


(แปล)

"อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง 

หรืออย่าทรงใช้คนอื่นให้ทำ กิจทั้งหลายโดยฉับพลัน 

เพราะว่าการงานที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย

คนเขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.“


..


 

Keine Kommentare: