๑๙๔. ยาพิษฤทธิ์ฉกาจ (ทรัพย์ของสงฆ์)
น วิสํ วิสมิจฺจาห, ธนํ สงฺฆสฺส อุจฺจเต;
วิสํ เอกํว หนติ, หนติ สงฺฆสฺส สพฺพํฯ
“ผู้รู้ไม่เรียกยาพิษว่า เป็นพิษ,
แต่เรียกทรัพย์ของสงฆ์ว่า เป็นพิษ,
ยาพิษฆ่าคนให้ตายได้ชาติเดียว,
ส่วนทรัพย์ของสงฆ์นั้น ฆ่าคนให้ตายได้ทุกชาติ.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนดี ๑๙๔, โลกนีติ ๖๒)
..
ศัพท์น่ารู้:
น: (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาต
วิสํ: (ยาพิษ, พิษ) วิส+อํ
วิสมิจฺจาห: ตัดบทเป็น วิสํ+อิติ+อาห (กล่าวว่ายาพิษ) วิสํ (ยาพิษ) วิส+อํ, อิติ (ว่า, คือ) เป็นนิบาต, อาห (ย่อมกล่าว, กล่าวแล้ว) พฺรู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ติ เป็น อ, แปลง พฺรู เป็น อาห ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)
ธนํ: (ซี่่งทรัพย์) ธน+สิ
สงฺฆสฺส: (ของสงฆ์) สงฺฆ+ส
อุจฺจเต: (ย่อมเรียก, กล่าว) √วจ+ย+เต ภูวาทิคณะ กัมมวาจก, แปลง ว เป็น อุ ด้วยสูตรว่า วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู ๔๗๘) = อุจฺ+ย+เต, แปลง จฺย เป็น จ ด้วยสูตรว่า ตสฺส จวคฺคยการวการตฺตํ สธาตฺวนฺตสฺส. (รู ๔๔๗) = อุ จ+เต, ซ้อน จฺ (สทิสเทฺวภาวะ) ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = อุจฺจ+เต รวมเป็น อุจฺจเต แปลว่า อันเขาย่อมกล่าว.
วิสํ: (ยาพิษ, พิษ) วิส+สิ
เอกํว: ตัดบทเป็น เอกํ+เอว (..หนึ่งนั่นเทียว) เอกํ (ซึ่ง..หนึ่ง, เดียว) เอก+อํ , เอว (นั่นเทียว, เท่านั้น) เป็นนิบาต
หนติ: (ย่อมฆ่า, กำจัด, ผลาญ, เบียดเบียน, รังครวญ) √หน+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
สงฺฆสฺส: (ของสงฆ์) สงฺฆ+ส
สพฺพํ: (ทั้งปวง, ทั้งหมด, สิ้นเชิง) สพฺพ+อํ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen