๒๒๒. ถ่านเพลิงกับความเย็น
ทุชฺชเนน สมํ เวรํ, สขฺยญฺจาปิ น การเย;
อุณฺโห ทหติ จงฺคาโร, สีโต กณฺหายเต กรํฯ
„ไม่พึงทำความเกลียดชังและ
ความเป็นมิตรให้เสมอกันกับคนพาล
เปรียบเหมือนถ่านร้อนย่อมไหม้มือ
ส่วนความเย็นย่อมทำให้มือเขียวซ้ำ.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๒๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ทุชฺชเนน (ด้วยคนพาล, ทุรชน) ทุชฺชน+นา
สมํ (ให้เสมอ, สมกัน) สม+อํ
เวรํ (ซึ่งเวร, บาป, ความเกลียดชัง) เวร+อํ
สขฺยญฺจาปิ ตัดบทเป็น สขฺยํ+จาปิ (ซึ่งความเป็นเพื่อน+แม้ด้วย)
น (ไม่, หามิได้) นิบาต
การเย (ให้กระทำ) กร+ณย+เอยฺย ตนาทิ. เหตุกัตตุ.
อุณฺโห (ความร้อน, อุณหภูมิ) อุณฺห+สิ
ทหติ (ย่อมเผา) ทห+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
จงฺคาโร ตัดบทเป็น จ+องฺคาโร (อนึ่ง, และ, ด้วย) องฺคาร+สิ
สีโต (ความเย็น, สีตะ) สีต+สิ
กณฺหายเต (ย่อมประพฤติดุจว่าซ้ำ, ดำ, เขียว) กณฺห+อาย+เต วิภัตติปปัจจยันตนัย ลง อาย หลังนามศัพท์ในอรรถความประพฤติ
กรํ (มือ, กร, งวง) กร+อํ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen