๒๒๓. ปากหวานก้นเปรี้ยว
ทุชฺชโน ปิยวาที จ, เนตํ วิสฺสาสการณํ;
มธุ ติฏฺฐติ ชิวฺหคฺเค, หทเย หลาหลํ วิสํฯ
„คนพาล มีปกติพูดจาน่ารัก
ข้อนั้น จะเป็นเหตุให้สนิทกัน หามิได้
คำพูดที่หวานของเขาตั้งอยู่ที่ปลายลิ้น,
แต่ในใจเขาคลือบด้วยพิษร้าย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๒๓ จาณักยนีติ ๒๔)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ทุชฺชโน: (คนพาล, คนชั่ว, คนเลว, ทุรชน) ทุ+ชน > ทุชฺชน+สิ
ปิยวาที: (คนมีปกติพูดคำน่ารัก, คนปากหวาน) ปิย+วาที > ปิยวาที+สิ
จ: (ก็, แท้จริง, และ, ด้วย) เป็นนิบาต
เนตํ: แยกบทเป็น น+เอตํ (ไม่+ข้อนั้น) น เป็นนิบาต, เอตํ คือ เอต+สิ สัพพนาม
วิสฺสาสการณํ: (เป็นเหตุให้วิสาสะ, -สนิทชิดเชื้อ, -คุ้นเคยกัน) วิสฺสาส+การณ > วิสฺสาสการณ+สิ
มธุ: (น้ำผึ้ง, รสหวาน) มธุ+สิ (หมายถึง คำพูดที่ไพเราะ)
ติฏฺฐติ: (ตั้งอยู่, ดำรง, ยืน) √ฐา+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฐา ติฏฺโฐ. (รู ๔๙๒)
ชิวฺหคฺเค: (ปลายลิ้น) ชิวฺหา+อคฺค > ชิวฺหคฺค+สฺมึ, ชิวฺหา (ลิ้น), + อคฺค (ปลาย, ยอด)
หทเย: (หทัย, หัวใจ) หทย+สฺมึ
หลาหลํ: (ร้ายแรง, พิษร้าย) หลาหล+สิ
วิสํ: (ยาพิษ, พิษ) วิส+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen