Donnerstag, 14. Januar 2021

๒๒๕.๑ คนพาล-คนดีต่างกัน

๒๒๕. คนพาล-คนดีต่างกัน


นาฬิเกรสมาการา, ทิสฺสนฺเตปิ หิ สชฺชนา;

อญฺเญ พทริกาการา, พหิเรว มโนหราฯ


"แท้จริง คนดีมีลักษณะเสมอด้วยมะพร้าว,

ส่วนคนพาลมีลักษณะเสมอด้วยกะเบา, 

คือ เพียงภายนอกเท่านั้น ที่ดูน่าสนใจ.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๒๕.)

..


ศัพท์น่ารู้ :


นาฬิเกรสมาการา: (ท่าทางเสมอด้วยผลมะพร้าว) นาฬิเกร+สม+อาการ > นาฬิเกรสมาการ+โย, นาฬิเกร(มะพร้าว), สม (เสมอ, สม, ดุจ), อาการ (ท่าทาง, ทำนอง, มารยาท, อาการ) 

ทิสฺสนฺเตปิ: (แม้ปรากฏ, เห็น) ตัดบทเป็น ทิสฺสนฺเต+อปิ, ทิสฺสนฺเต เป็นได้กัตตุวาจก และกัมมวาจก มาจากทิส++อนฺเต หรือ ทิส++อนฺเต ก็ได้

หิ: (จริงอยู่, แท้จริง) เป็นนิบาต 

สชฺชนา: (คนดี, สัตบุรุษ) สชฺชน+โย

อญฺเญ: (เหล่าอื่น, นอกนี้) อญฺญ+โย สัพพนาม

พทริกาการา: (ท่าทางดุจไม้สะเดา) พทริก+อาการ > พทริกาการ+โย เป็นศัพท์สมาส แยกเป็น พทริก+อาการ (ต้นสะเดา, พุทรา, จิงจ้อ, สลอด, กะเบา, มะดูก + อาการ, ท่าทาง, มารยาท) 

พหิเรว: (ภายนอกเท่านั้น, ข้างนอกนั่นเทียว) = พหิ+เอว+ อาคม 

มโนหรา: (น่าประทับใจ, น่ารักใคร่) มโนหร+โย


..


 

Keine Kommentare: