๒๒๘. อย่าไปยุ่งกับคนพาล
น ฐาตพฺพํ น คนฺตพฺพํ, ทุชฺชเนน สมํ กฺวจิ;
ทุชฺชโน หิ ทุกฺขํ เทติ, น โส สุขํ กทาจิปิฯ
"บุคคลไม่ควรยืน ไม่ควรไป,
กับคนพาลเป็นประจำหรือบางคราว;
เพราะว่า คนพาลย่อมให้ความทุกข์,
และไม่เคยให้ความสุขแม้ในกาลไหนๆ “
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๒๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
น: (ไม่, หามิได้) นิบาต
ฐาตพฺพํ: (พึงยืน) ฐา+ตพฺพ > ฐาตพฺพ+สิ
น: (ไม่, หามิได้) นิบาต
คนฺตพฺพํ: (พึงไป, พึงเดิน) คมุ+ตพฺพ > คนฺตพฺพ+สิ
ทุชฺชเนน: (ด้วยคนพาล, ทุรชน) ทุชฺชน+นา
สมํ: (เสมอ, ประจำ, ปกติ) สม+อํ
กฺวจิ: (บ้าง, บางครั้ง, บางคราว) กึ+ว+จิ
ทุชฺชโน: หิ: (จริงอยู่, สมจริง, จริงอย่างนั้น, แท้จริง, เพราะว่า) นิบาต
ทุกฺขํ: (ซึ่งทุกข์, ความลำบาก, ทนได้ยาก) ทุกฺข+อํ
เทติ: (ให้, ถวาย) ทา+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
น: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
โส: (นั้น) ต+สิ สัพพนาม
สุขํ: (ซึ่งความสุข, สบาย) สุข+อํ
กทาจิปิ: (แม้ในการบางคราว, แม้ในเวลาไหนๆ) กทาจิ+อปิ
กฺวจิ แปลว่า บ้าง, บางอย่าง, บางสิ่ง, บางครั้ง, บางที่
มาจาก กึ+ว+จิ
ลง ว ปัจจัยหลัง กึ ในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กิสฺมา โว. (รู ๒๖๘)
แปลง กึ เป็น ก ด้วยสูตรว่า กิสฺส ก เว จ. (รู ๒๗๐) ก+ว
ลบ อ อักษรที่ ก อักษร ด้วยมหาสูตรว่า เตสุ วุทฺธิ ฯ. (รู ๓๗๐) กฺ+ว รวมเป็น กฺว แปลว่า ที่ไหน?,
เช่นประโยคว่า กฺว คโตสิ ตฺวํ แปลว่า ท่านไปในสถานที่ไหน?
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen