๒๓๓. คนอื่นที่เหมือนญาติ
หิตกฺกโร ปโร พนฺธุ, พนฺธุปิ อหิโต ปโร;
อหิโต เทหโช พฺยาธิ, หิตํ อรญฺญโมสธํฯ
"คนอื่น หากทำประโยชน์ให้ ก็เป็นเหมือนญาติ,
แม้เป็นญาติ ไม่ทำประโยชน์ต่อกัน ก็เป็นดุจคนอื่น,
โรคาพยาธิ เกิดจากร่างกายแท้ๆ หามีประโยชน์ไม่,
ส่วนยาเกิดในป่า กลับมีประโยชน์รักษาโรคได้.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๓๓, โลกนีติ ๗๙, ธมฺมนีติ ๑๑๐)
ศัพท์น่ารู้ :
หิตกฺกโร: (ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูล) หิตกฺกร+สิ วิ. หิตํ กโรตีติ หิตกฺกโร (ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิตกฺกร) มาจาก หิต+กร+อ (หิตสัททูปปท+กร ธาตุ+อ ปัจจัย) เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ หรือเป็นทุติยาตัปปุริสสมาส ก็ได้, ลง อ ปัจจัยด้วยสูตรว่า สพฺพโตณฺวุตฺวาวี วา (รู ๕๖๘)
ปโร: (ผู้อื่น, คนอื่น) ปร+สิ สัพพนาม
พนฺธุ: (พวกพ้อง, เผ่าพันธุ์, ญาติ) พนฺธุ+สิ
พนฺธุปิ: (แม้ญาติ, พ้องพ้อง, พี่น้อง, ญาติ) พนฺธุ+อปิ
อหิโต: (ผู้ไม่เกื้อกูล, ไม่มีประโยชน์) อหิต+สิ
ปโร: (ผู้อื่น, คนอื่น) ปร+สิ สัพพนาม
อหิโต: (ผู้ไม่เกื้อกูล, ไม่มีประโยชน์) อหิต+สิ
เทหโช: (เกิดจากร่างกาย) เทหช+สิ
พฺยาธิ: (ความเจ็บป่วย, พยาธิ) พฺยาธิ+สิ
หิตํ: (มีประโยชน์, เกื้อกูลให้) หิต+สิ
อรญฺญโมสธํ: (โอสถที่เกิดในป่า, ยาที่เก็บมาจากป่า) อรญฺญโมสธ+สิ, อรญฺญ (ป่า, ดง) นป., โอสธ (ยา, โอสถ) นป.
ส่วนในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๑๑๐) มีข้อความคล้ายกันดังนี้
หิตกาโร ปโร พนฺธุ,
พนฺธูปิ อหิโต ปโร;
อหิโต เทหโช พฺยาธิ,
หิตมารญฺญโมสธํฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen