Mittwoch, 27. Januar 2021

๒๓๖. ตำราดูลักษณะคนใกล้ต้ว

๒๓๖. ตำราดูลักษณะคนใกล้ต้ว 


ชานิยา เปสเน ภจฺเจ, พนฺธเว พฺยสนาคเม;

มิตฺตญฺจ อาปทิกาเล, ภริยญฺจ วิภวกฺขเยฯ


พึงรู้ลูกจ้าง ยามใช้สอยทำการงาน, 

พึงรู้ญาติวงศ์วาน ยามมีภัยประชิด,

พึงรู้สหายมิตร ยามยากจนอนาถา, 

พึงรู้ภริยา ยามสิ้นเนื่อประดาตัว.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๓๖)


ศัพท์น่ารู้ :


ชานิยา: (พึงรู้, ควรทราบ) ญา+นา+เอยฺย 

เปสเน: (การรับใช้, การส่งไป) เปสน+สฺมึ 

ภจฺเจ: (ลูกจ้าง, คนใช้ .) ภจฺจ+โย


พนฺธเว: (ญาติ, พวกพ้อง, เผ่าพันธุ์ .) พนฺธว+โย 

พฺยสนาคเม: (ในคราวถึงภัยพิบัติ) พฺยาสนาคม+สฺมึ, พฺยสน (ฉิบหาย, วอดวาย, โชคร้าย, เสื่อม) นป., อาคม (การถึง, มา, อาคม) . 


มิตฺตญฺจ: ตัดบทเป็น มิตฺตํ+ มิตฺตํ (ซึ่งมิตร, เพื้อน, เกลอ) มิตฺต+อํ, (ด้วย, และ) เป็นนิบาต

อาปทิกาเล: (ในเวลาวิบัติ, -เคราะห์ร้าย, -อันตราย) อาปทิกาล+สฺมึ, อาปทา (วิบัติ, เคราะห์ร้าย, อันตราย) อิต., กาล (กาล, เวลา, คราว) . 


ภริยญฺจ:  ตัดบทเป็น ภริยํ+, ภริยํ (ซึ่งภริยา, ภรรยา, เมีย) ภริย+อํ, (ด้วย, และ) เป็นนิบาต

วิภวกฺขเย: (ในเวลาสิ้นทรัพย์, -หมดเนื้อประดาตัว) วิภวกฺขย+สฺมึ, วิภว (ทรัพย์, ข้าวของมีค่า, สมบัติ, ความเจริญ) ., ขย (ความเสื่อม, สิ้นไป) .



ขอยกคาถาเดียวกันนี้จากคัมภีร์ต่าง มาเปรียบเทียบ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไป


ในโลกนีติ (โลกนีติ ๘๒) มีข้อความต่างกัน ดังที่ปรากฏ ดังต่อไปนี้


ชาเนยฺย เปเสน ภจฺจํ,

พนฺธุํ วาปิ ภยาคเต;

อปฺปกาสุ ตถา มิตฺตํ,

ทารญฺจ วิภวกฺขเยฯ


ในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๑๘๓) มีข้อความต่างจากข้างบน ดังนี้


ชาเนยฺย เปสเน ภจฺจํ,

พนฺธวาปิ ภยาคเต;

อาปทาสุ ตถา มิตฺตํ,

ทารญฺจ วิภวกฺขเยฯ


ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๕๕) มีข้อความข้อความ ตรงไปตรงมา ดังนี้


ชาเนยฺย เปสเน ภจฺจํ, 

พนฺธวํปิ ภยาคเม,

พฺยสเน ตถา มิตฺตํ, 

ทารญฺจ วิภวกฺขเยฯ


และในจาณักยนีติ (จาณกฺยนีติ ๒๑) มึศัพท์คล้ายกับกวิทัปปณนีติ ดังนี้


ชานิยา เปสเน ภจฺเจ,

พนฺธเว พฺยสนาคเม;

มิตฺตญฺจาปทิกาเล ,

ภริยญฺจ วิภวกฺขเยฯ


..


ศัพท์ว่า ชานิยา = ชาเนยฺย คือมาจาก ญา+นา+เอยฺย กิยาทิคณะ กัตตุวาจก

ชาเนยฺย เห็นบ่อย ส่วน ชานิยา นาน จะปรากฏโฉมให้เห็นครั้งหนึ่ง

วิธีทำตัวสำเร็จรูปก็คล้ายกัน คือ

แปลง ญา เป็น ชา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชา-ชํ-นา. (รู ๕๑๔) = ชา+นา+เอยฺย

แปลง เอยฺย เป็น อิยา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เอยฺยสฺส ญาโต อิยา-ญา. (รู ๕๑๕) = ชา+นา+อิยา 

แยก ลบ รวม สำเร็จรูปเป็น ชานิยา 


..


 

Keine Kommentare: