๒๓๗. มิตรจริง เพื่อนแท้
อุสฺสเว พฺยสเน เจว, ทุพฺภิกฺเข สตฺตุวิคฺคเห;
ราชทฺวาเร สุสาเน จ, โย ติฏฺฐติ โส พนฺธวาฯ
"ผู้ใดอยู่เคียงข้างในยามรื่นเริง ในยามโชคร้าย,
ในยามข้าวยากหมากแพง ในยามถูกศัตรูข่มแหงรังแก;
ในยามขึ้นโรงขึ้นศาล และในเวลาถูกหามไปยังป่าช้า,
ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นพวกพ้อง พี่น้องที่แท้่จริง.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๓๗, โลกนีติ ๙๒, มหารหนีติ ๑๔๓, ธมฺมนีติ ๙๘, จาณกฺยนีติ ๑๗)
ศัพท์น่ารู้ :
อุสฺสเว: (ในงานฉลอง, มหรสพ, งานเลี้ยง, งานรื่นเริง) อุสฺสว+สฺมึ
พฺยสเน: (ในเวลาฉิบหาย, วอดวาย, โชคร้าย) พฺยสน+สฺมึ
เจว: (ด้วยนั้นเทียว) จ+เอว สมูหนิบาต
ทุพฺภิกฺเข: (ในเวลาทุพภิกขา, อาหารขาดแคลน, เวลาข้าวยากหมากแพง,) พุพฺภิกฺข+สฺมึ
สตฺตุวิคฺคเห: (ในเพราะการข่มของศัตรู, ถูกศัตรูข่มแหงรังแก) สตฺตุวิคฺคห+สฺมึ
ราชทฺวาเร: (ในที่ใกล้ประตูของพระราชา, เวลาขึ้นโรงขึ้นศาล) ราชทฺวาร+สฺมึ
สุสาเน: (ในเวลาไปสู่สุสาน, ที่ป่าช้า, เวลาสิ้นชีวิต, เวลาคอขาดบาดตาย) สุสาน+สฺมึ
จ: (ด้วย, และ) นิบาตบท
โย: (ผู้ใด) ย+สิ สัพพนาม
ติฏฺฐติ: (ยืน, ตั้ง, ดำรง, ยืนหยัด, เคียงข้าง, เคียงบ่าเคียงไหล่) ฐา+อ+ติ แปลง ฐา ธาตุเป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฐา ติฏฺโฐ. (รู ๔๙๒)
โส: (ผู้นั้น) ต+สิ สัพพนาม
พนฺธวา: (พวกพ้อง, ญาติ, พึีน้อง) พนฺธว+สิ หรือ พนฺธว+โย ?, ในมหารหนีติและจาณักยนีติ เป็น พนฺธโว
..
ต่อไปนี้ เรามาดูคาถาเดียวกันนี้ จากนีติอื่นๆ เพื่ิอความเป็นฉลาดในศัพท์อักษรยิ่งๆ ขึ้นไป ดังต่อไปนี้
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๙๒) มีข้อความแตกต่างกัน ดังนี้
โรคาตุเร จ ทุพฺภิกฺเข,
พฺยสเน สตฺตุวิคฺคเห;
ราชทฺวาเร สุสาเน จ,
เย ติฏฺฐนฺติ สุมิตฺตกาฯ
ในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๑๔๓) มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้
อาตุเร พฺยสเนปตฺเต,
ทุพฺภิกฺเข สตฺตุวิคฺคเห;
ราชทฺวาเร สุสาเน จ,
โย ติฏฺฐติ ส พนฺธโวฯ
ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๙๘) มีข้อความที่ค่อนข้างต่างจากคัมภีร์อื่น ดังนี้
อาตุเร พฺยสเน สเจ,
ทุพฺภิกฺเข ปรวิคฺคเห;
ราชทฺวาเร สุสาเน จ,
สงฺเขปํ มิตฺตลกฺขิณํฯ
ส่วนในจาณักยนีติ (จาณกฺยนีติ ๑๗) เหมือนกับกวิทัปปณนีติเกือบทุกอักษร ดังนี้
อุสฺสเว พฺยสเน เจว,
ทุพฺภิกฺเข สตฺตุวิคฺคเห;
ราชทฺวาเร สุสาเน จ,
โย ติฏฺฐติ ส พนฺธโวฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen