Sonntag, 31. Januar 2021

๒๔๐. หลักการดูคนรอบตัว

๒๔๐. หลักการดูคนรอบตัว


อาปทาสุ มิตฺตํ ชญฺญา, ยุทฺเธ สูรํ อิเณ สุจึ;

ภริยํ ขีเณสุ วิตฺเตสุ, พฺยสเนสุ พนฺธวํฯ


"พึงรู้มิตรยามมีอันตราย,

พึงรู้คนกล้ายามมีสงคราม, 

พึงรู้คนสะอาดยามให้กู้ยืมหนี้;

พึงรู้ภรรยายามสิ้นทรัพย์สิน,

พึงรู้ญาติมิตรยามวิบัติฉุกเฉิน.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๔๐)


ศัพท์น่ารู้ :


อาปทาสุ: (วิบัติ, เคราะห์ร้าย, อันตราย) อาปทา+สุ 

มิตฺตํ: (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+อํ 

ชญฺญา: (พึงรู้, ควรทราบ) ญา+นา+เอยฺย กิยาทิคณะ กัตตุวาจก, แปลง ญา เป็น ชํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชา-ชํ-นา. (รู ๕๑๔) = ชํ+นา+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น ญา ด้วยสูตรว่า เอยฺยสฺส ญาโต อิยา-ญา. (รู ๕๑๕) = ชํ+นา+ญา, ลบ นา วิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า นาสฺส โลโป ยการตฺตํ. (รู ๕๑๖) = ชํ+ญา, แปลง นิคคหิต เป็นที่สุดวรรค ด้วยสูตรว่า วคฺคนฺตํ วา วคฺเค. (รู ๔๙) = ชญฺญา


ยุทฺเธ: (การต่อสู้, การรบ, สงคราม) ยุทฺธ+สฺมึ 

สูรํ: (คนกล้า, กล้าหาญ) สูร+อํ 

อิเณ: (หนี้, หนี้สิน, การให้ยืม) อิณ+สฺมึ 

สุจึ: (ความสะอาด, หมดจด) สุจิ+อํ


ภริยํ: (ภรรยา, เมีย) ภริย+อํ 

ขีเณสุ: (สิ้นแล้ว, เกลี้ยง) ขีณ+สุ 

วิตฺเตสุ: (ของปลื้มใจ, ทรัพย์ .) วิตฺต+สุ


พฺยสเนสุ: (ฉิบหาย, วอดวาย, โชคร้าย .) พฺยสน+สุ 

: (ด้วย, และ) นิบาตบท 

พนฺธวํ: (พวกพ้อง, พี่น้อง, เพื่อน) พนฺธว+อํ


..


จุดเด่นของคาถานี้ น่าจะอยู่ที่ คำว่า "อิเณ สุจึ" หรือ เขียนให้เต็มประโยคว่า "อิเณ สุจึ ชญฺญา"

น่าจะหมายความว่า "บุคคลจะรู้ เจ้าหนี้เป็นคนดีหรือไม่ดี(หน้าเลื่อดหรือไม่) เวลากู้หนี้ยืมสิ้นนี้แหละ!



ข้อสังเกต คาถานี้คล้ายกับ ๒๓๖ "ตำราดูลักษณะคนใกล้ตัว"


ชานิยา เปสเน ภจฺเจ, 

พนฺธเว พฺยสนาคเม;

มิตฺตญฺจ อาปทิกาเล, 

ภริยญฺจ วิภวกฺขเยฯ


พึงรู้ลูกจ้าง ยามใช้สอยทำการงาน, 

พึงรู้ญาติวงศ์วาน ยามมีภัยประชิด,

พึงรู้สหายมิตร ยามยากจนอนาถา, 

พึงรู้ภริยา ยามสิ้นเนื่อประดาตัว.“



..


 

Keine Kommentare: