๒๑๕. โทษคนอื่นเห็นง่าย
ติลมตฺตํ ปเรสญฺจ, อปฺปโทสญฺจ ปสฺสติ;
นาฬิเกรมฺปิ สโทสํ, ขลชาโต น ปสฺสติฯ
“คนเลวมักมองเห็นโทษที่เล็กน้อย
เพียงเท่าเมล็ดงา ของคนอื่น,
แต่โทษของตน แม้ใหญ่เท่าผลมะพร้าว
กลับมองไม่เห็นเลย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๑๕ โลกนีติ ๗๕ ธัมมนีติ ๓๕๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ติลมตฺตํ: (เพียงเท่าเม็ดงา) ติล+มตฺต > ติลมตฺต+อํ
ปเรสญฺจ: ตัดบทเป็น ปเรสํ+จ (ของคนเหล่าอื่น+ด้วย) ปร+นํ = ปเรสํ สัพพนาม
อปฺปโทสญฺจ: ตัดบทเป็น อปฺปโทสํ+จ (โทษเล็กน้อยด้วย)
ปสฺสติ: (ย่อมเห็น) ทิส+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
นาฬิเกรมฺปิ: ตัดบทเป็น นาฬิเกรํ+อปิ (แม้เท่าลูกมะพร้าว) นาฬิเกร+อํ (ลูกมะพร้าว) นาฬิเกร+อํ = นาฬิเกรํ
สโทสํ: (โทษของตน) สก+โทส > สโทส+อํ
ขลชาโต: (คนพาล, คนเลวชาติ) ขล+ชาต > ขลชาต+สิ
น: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
ปสฺสติ (ย่อมเห็น) ทิส+อ+ติ แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทิสสฺส ทิสฺสปสฺสทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen