๒๓๙. ใครเล่ารักเราเท่าพ่อแม่
มาตา มิตฺตํ ปิตา เจติ, สภาวา ตํ ตยํ หิตํ;
กมฺมกรณโต จญฺเญ, ภวนฺติ หิตพุทฺธิโยฯ
"พ่อแม่พี่น้องทำประโยชน์เกื้อกูล
ทั้ง ๓ ประการให้ตามความเป็นจริง,
แต่คนเหล่าอื่น ทำประโยชน์เกื้อกลูให้
เพราะการทำการงาน(แรงงาน)ของเรา.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๓๙)
ศัพท์น่ารู้ :
มาตา: (มารดา, แม่) มาตุ+สิ แปลงที่สุดเป็น อา และลบ สิ ด้วยสูตรว่า สตฺถุปิตาทีนมา สิสฺมึ สิโลโป จ. (รู ๑๕๘)
มิตฺตํ: (มิตร, พี่น้อง) มิตฺต+สิ ?, (ปกติแล้ว มิตฺต ศัพท์เป็นปุงลิงค์ มิตฺต+สิ ควรเป็น มิตฺโต)
ปิตา: (บิดา, พ่อ) ปิตุ+สิ ทำตัวเมือน มาตุ ศัพท์
เจติ: ตัดบทเป็๋น จ+อิติ (ด้วย, และ + คือ) เป็นนิบาต
สภาวา: (ตามเป็นจริง, ตามสภาพ) สภาว+สฺมา
ตํ: (นั้น) ในปทรูปทสิทธิ ตอนว่าด้วยเรื่องนิบาต ตํ จัดเป็นปูรณัตถนิบาต ก็ได้
ตยํ: (ทั้ง ๓) ตย+อํ
หิตํ: (ประโยชน์เกื้อกูล) หิต+อํ, (อันที่จริงศัพท์นี้เป็นนปุงสกลิงค์ แต่ในที่ขอเอาเป็นกรรมใน กโรนฺติ)
กมฺมกรณโต: (เพราะการกระทำกรรม, การกระทำการงาน) กมฺมกรณ+โต ปัจจัยในอรรถปัญจมีวิภัตติ กมฺมกรณ (นป.) ถ้า กมฺมกรณา (อิตฺ) แปลว่า การลงโทษทางการ, เครื่องทรมานทางกาย, กรรมกรณ์
จญฺเญ: ตัดบทเป็น จ+อญฺเญ (ก็, แต่, ส่วน+คนเหล่าอื่น) จ เป็นนิบาต, อญฺเญ (เหล่าอื่น) อญฺญ+โย
ภวนฺติ: (ย่อมมี, ย่อมเป็น) ภู+อ+อนฺติ ภูวาทิคณะ, กัตตุวาจก
หิตพุทฺธิโย: (ผู้รู้ประโยชน์เกื้อกูล, ผู้กระทำ-) หิตพุทฺธี+โย, ถ้า พุทฺธิ (ปัญญา, ความรู้) อิตฺ.
..
วันนี้ต้องบอกว่า เป็นการแปลเดาครับ เพราะไม่แน่ใจเอาเสียเลย
ข้อความที่ถูกต้องเป็นอย่างไรนั้น ค่อยว่ากันใหม่ ขอแปลนำร่องไว้ก่อนก็แล้วกัน
ผิดพลาดต้องขออภัยล่วงหน้า ท่านผู้รู้หรือนักศึกษามีข้อคิดเห็นประการใด
ได้โปรดแสดงความคิดเห็นได้ตามสบายนะครับ.
คำว่า ประโยชน์ทั้ง ๓ (ตยํ หิตํ) คือ
๑) ประโยชน์ในโลกนี้
๒) ประโยชน์ในโลกหน้า
๓) ประโยชน์ในโลกทั้งสอง
หรืออาจจะหมายเอาประโยชน์ในวัยทั้ง ๓ ก็ได้ สำหรับพ่อแม่ทั่วไป (ผู้แปล)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen