Freitag, 8. Januar 2021

๒๑๙. ทัพพีฤาห่อนรู้รสแกง

๒๑๙. ทัพพีฤาห่อนรู้รสแกง


ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล, ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ;

โส ธมฺมํ วิชานาติ, ทพฺพี สูปรสํ ยถาฯ


ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้ตลอดชีวิตไซร์,

เขาย่อมไม่รู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริงได้,

เปรียบเหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๑๙ โลกนีติ ๒๕ ธัมมนีติ ๑๓๕ ขุ.. ๒๕/๑๕)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ยาวชีวมฺปิ: ตัดบทเป็น ยาวชีวํ+อปิ (แม้ตลอดชีวิต) วิ. ชีวสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท = ยาวชีวํ, (กำหนดเพียงไร แห่งชีวิต ชื่อว่า ยาวชีวํ) เป็นนิปาตปุพพอัพยยีภาวสมาส รูปสำเร็จเป็นนปุงสกลิงค์ เอกพจน์เสมอ. 

เจ: (ผิว่า, หากว่า) เป็นนิบาตใช้ในอรรถสังกาวัฏฐานะ (กำหนดความสงสัย-คาดคะเน) 

พาโล: (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ 

ปณฺฑิตํ: (บัณฑิณ ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+อํ 

ปยิรุปาสติ: (เข้าไปหา, นั่งใกล้, รับใช) ปริ++อุป+√อาส++ติ ( อามคม) กัตตุวาจก, ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก, การทำตัว ให้ทำ วัณณวิปริยาย คือ การสลับอักษร ด้วย ศัพท์ในสูตรว่า โท ธสฺส (รู. ๕๙), ดูวุตติ หรือคำอธิบายสูตรว่า อนุปทิฏฺฐานํ วุตฺตโยคโต. (รู ๕๙) เพิ่มเติม.

: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 

โส: (..นั้น) +สิ สัพพนาม

ธมฺมํ: (ธรรม) ธมฺม+อํ

วิชานาติ: (รู้แจ้ง, ทราบชัด) วิ+ญา+นา+ติ กิยาทิคณะ กัตตุวาจก แปลง ญา เป็น ชา ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชาชํนา. (รู ๕๑๔)

ทพฺพี: (ทัพพี, เครื่องตักอาหาร) ทพฺพิ+สิ 

สูปรสํ: (รสแกง) สูปรส+อํ 

ยถา: (เหมือน, ดุจ) นิบาตบอกอุปมา


..………


 

Keine Kommentare: