Samstag, 9. Januar 2021

๒๒๐. หลักการคบมิตร

๒๒๐. หลักการคบมิตร


จรญฺเจ นาธิคจฺเฉยฺย, เสยฺยํ สทิสมตฺตโน;

เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา, นตฺถิ พาเล สหายตาฯ


ผิว่าบุคคล เมื่อเที่ยวไป ไม่พึงประสบสหายผู้

ประเสริฐกว่า ผู้เช่นกับ(ด้วยคุณ) ของตนไซร์, 

พึงพําการเที่ยวไปคนเดียวให้มั่น,  เพราะว่า 

ความเป็นสหายกัน ย่อมไม่มีในคนพาล. 


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๒๐ ขุ.. ๒๕/๑๕)


..


ศัพท์น่ารู้ :


จรญฺเจ: ตัดบทเป็น จรํ+เจ (หากว่า บุคคลเที่ยวไปอยู่) จรํ (เที่ยวไปอยู่) √จร++อนฺต > จรนฺต+สิ เป็นกิริยากิตก์, แปลง นฺต เป็น อํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สิมฺหิ คจฺฉนฺตาทีนํ นฺตสทฺโท อํ. (รู ๑๐๗) , ลบ สิ วิภัตติ. เจ (หากว่า, ผิว่า) นิบาตบท 

นาธิคจฺเฉยฺย: ตัดบทเป็น +อธิคจฺเฉยฺย (ไม่พึงประสบ) (ไม่, หามิได้) นิบาตบท, อธิคจฺเฉยฺย (พึงประสบ, ควรบรรลุ) อธิ+√คมุ++เอยฺย สัตตมีวิภัตติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก แปลงที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ. (รู ๔๔๒) = อธิ+ จฺฉ++เอยฺย รวมเป็น อธิคจฺเฉยฺย

เสยฺยํ: (ดีกว่า, ประเสริฐกว่า) เสยฺย+อํ 

สทิสมตฺตโน: ตัดบทเป็น สทิสํ+อตฺตโน (ผู้เช่นกันกับด้วยตน) สทิสํ (ผู้เช่นกัน, ผู้เสมอกัน) สทิส+อํ, อตฺตโน (แก่..เพื่อ..ต่อตน/ แห่ง..ของ..) อตฺต+. /.

เอกจริยํ: (การประพฤติผู้เดียว, การเที่ยวไปผู้เดียว) เอกจริย+อํ 

ทฬฺหํ: (ให้มั่น, มั่นคง, หนักแน่น) ทฬฺห+อํ 

กยิรา: (พึงทำ) √กร+ยิร+เอยฺย ตนาทิคณะ กัตตุวาจก ลบที่สุดธาตุ แปลง เอยฺย เป็น อา ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘)

นตฺถิ: (ไม่มี) +อตฺถิ, (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบท, อตฺถิ เป็นนิบาตก็ได้ เป็นกิริยาอาขยาตก็ได้ 

พาเล: (ในคนพาล, คนชั่ว) พาล+สฺมึ 

สหายตา: (ความเป็นแห่งสหาย, ความเป็นเพื่อน) สหายตา+สิ


..


 

Keine Kommentare: